สถานการณ์น้ำในช่วงเริ่มต้นของฤดูฝน นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ในปีนี้ ช่วงต้นฤดูฝนจะยังไม่ค่อยตกมากนัก ดังนั้นจะทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ ยังน้อยอยู่ โดยเฉพาะในลุ่มเจ้าพระยา ไม่ว่าจะเป็นเขื่อน ภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควนน้ำบำรุงแดน หรือ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปัจจุบันใน 4 เขื่อนมีปริมาณน้ำรวมกัน1,376 ล้านลูกบาศก์เมตรโดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลยังมีปริมาณน้ำอยู่ เมื่อไม่สามารถส่งน้ำมาสนับสนุนการเกษตรได้ เราจึงขอความร่วมมือเกษตรกรในที่ลุ่ม ว่า เมื่อมีฝนตกสามารถใช้น้ำฝนในการเพาะปลูกได้ ทั้งประเทศขณะนี้มีการเพาะปลูกแล้ว 9 แสนไร่ ปลูกนาช่วงแรก 3 แสนไร่ โดยในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา กรมชลประทานได้มีช่วยส่งน้ำในลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งมีการเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อย ส่วนการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้งไม่ประสบปัญหาขาดแคลน ส่วนในภาคตะวันออก นับว่าโชคดีที่ปริมาณไม่ขาดแคลน สามารถเพาะปลูกพืชได้ทั้งทุเรียน มังคุด เช่นเดียวกับจ.จันทรบุรี มีปัญหาเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทานเท่านั้น โดยในวันนี้ กรมชลประทาน ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการบริหารจัดการแหล่งน้ำ ตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ไว้ ว่าต้องเร่งบริหารจัดการพื้นที่ใดที่มีปัญหาแล้งให้มีวิธีการบริหารเบ็ดเสร็จใช้ระยะเวลาสั้นที่สุดเพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรได้ประโยชน์มากที่สุด คาดว่าจะมีแผนบริหารจัดการขนาดใหญ่ ที่จะนำเสนอต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป
นอกจากนั้น จะกำชับเจ้าหน้าที่ ถึงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต้องโปร่งใส ไม่มีการทุจริต รวมถึงการจัดจ้างแรงงานให้ถูกต้อง หากพบว่ามีการทุจริตไม่โปร่งใสก็ต้องสอบสวนและโยกย้าย สำหรับการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ เร่งต้องเร่งพัฒนาให้ได้ตามเป้าหมาย 8.7ล้านไร่ภายในปี 2569 ดังนั้น จะต้องมีการปรับริหารงานในลุ่มน้ำ ทั้งการจัดการ การแก้ไขปัญหา ให้เบ็ดเสร็จ และตอ้งปรับและออกแบบบริหารระบบส่งน้ำ ให้สอดคล้องกับแผนการเพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็น ข้าว หรือพืชไร่ ที่ต้องวางแผนให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีปัจจัยที่ต้องขอความร่วมมือ จากประชาชนเป็นสำคัญ