*องคมนตรีลงพท.ศ.ศิลปาชีพ ทอผ้าไหมฯอ.คำม่วงสร้างรายได้-มรดกส่งต่อลูกหลาน*

27 มกราคม 2559, 12:00น.


การพัฒนาส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพ รายได้เสริม เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามแนวพระราชดำริ เช้าวันนี้เป็นจุดสุดท้ายที่นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) จะเดินทางมาลงพื้นที่ มาติดตามความก้าวหน้าของโครงการในพระราชดำริในจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมาที่โครงการสหกรณ์ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่ตำบลบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์



นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี กล่าวว่า ส่วนตัวไม่เคยมาที่แห่งนี้มาก่อน แต่มีความรู้สึกคุ้นเคยกับที่แห่งนี้ เพราะอาจจะเคยพบกับชาวบ้านต่างๆในช่วงที่ตามเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมฯ ราชินีนาถ ครั้งที่เสด็จแปรพระราชฐานมาที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เมื่ออดีต ซึ่งครั้งนั้นได้มีการประกวดผ้าไหมแพรวา และกลุ่มทอผ้าไหมจากจังหวัดกาฬสินธุ์ ก็ได้เข้ารับพระราชทานรางวัลด้วย เพราะผ้าไหมแพรวาของที่นี่มีความสวยงาม จนพระองค์ทรงจองและนำกลับไปทุกปี ซึ่งส่วนตัวคาดว่าพระองค์น่าจะทรงเก็บผ้าที่พระสวยงามที่มีคุณค่าเหล่านี้ไว้ให้เป็นมรดกของท้องถิ่น ของชาติ  เพื่อให้ลูกหลานได้รับรู้ว่าชาวผู้ไทย ได้ผลิตมรดกที่มีคุณค่าสวยงาม ไว้ใช้ชาวไทย และชาวต่างชาติได้ชื่นชมสืบทอดต่อไป



ส่วนการมาติดตามเยี่ยมโครงการตามแนวพระราชดำริ ครั้งนี้เป็นการมาดูโครงการที่พระองค์ทรงทำเพื่อประชาชน ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ทั้งเรื่อง ดิน น้ำ และการส่งเสริมอาชีพคุณภาพชีวิตให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสุข รวมถึงเพื่อเผยแพร่ให้คนรุ่นใหม่ได้รับทราบถึงโครงการในพระราชดำริต่างๆที่มีคุณค่า ที่ทรงพระราชทานให้แก่ประชาชนทุกคนได้รับรู้ รับทราบ รวมถึงจะได้นำผลการดำเนินการที่ผ่านมาของแต่ละโครงการว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร เพื่อนำไปกราบบังคมทูลให้ได้รับทราบต่อไป





นางสมศรี สระทอง ประธานกรรมการสหกรณ์ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวา ฯ กล่าวว่า เริ่มแรกเดิมทีผ้าไหมแพรวา ชุมชนชาวผู้ไทย ได้สืบทอดถ่ายทอดการทอผ้าไหมแพรวามากันมากว่า 200ปีแล้ว เพื่อเป็นมรดกประจำตัว แต่เดิมทอไว้เป็นเครื่องแต่งกาย โดยไม่มีการจำหน่าย จนเมื่อปี 2520 ที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมฯ ราชินีนาถ เสด็จมาและทรงเห็น ชุดพื้นเมืองชาวผู้ไทย จึงทรงสนพระทัย และทรงรับกลุ่มผ้าไหมแพววา ไว้ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ. ตั้งแต่นั้นมาและจากนั้นชาวบ้านก็ได้ร่วมตัวจัดตั้งกลุ่มกันขึ้นมา และได้มีทางกรมการพัฒนาชุมชน หน่วยงานภาครัฐอื่นๆเข้ามาสนับสนุนส่งเสริม จนปัจุบัน ผ้าไหมแพรวาถือเป็น ผลิตภัณฑ์ชุมชนระดับ 5ดาว และได้รับรางวัลรับรองอื่นๆอีกหลายรางวัล จนขณะนี้ก็มีการส่งไปจำหน่ายตามงามต่างๆทั้วประเทศให้ได้เป็นที่รู้จัก ซึ่งในปัจจุบัน ราคาของผ้าไหมแพรวา มีราคาตั้งแต่หลักพัน จนถึงหลักแสนบาท   โดยชาวผู้ไทยทุกคนก็มีความทราบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์ที่ทำให้ชีวิต ของคนชุมชน แห่งนี้มีชีวิต และรายได้มาเลี้ยงครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ยังยืน และมั่นคงมาถึงปัจจุบัน





ด้าน นางดนตรี ภูจันหา สมาชิกสหกรณ์ศูนย์ศิลปาชีพทอผ้าไหมแพรวา ฯ เล่าให้ฟังว่า เดิมอาชีพหลักส่วนตัวทำนา แต่ที่มาทอผ้าไหมแพววานี้ เป็นอาชีพเสริม เพราะปกติก็จะทอทำไว้ใช้ที่บ้าน รวมถึงสวมใส่เวลามีงานต่างๆในหมู่บ้าน แต่เมื่อพระองค์ทรงเห็นว่า ชาวผู้ไทย มีชุดพื้นเมืองที่ทอมาจากผ้าไหมแพรวามีความสวยงาม ก็ทรงชื่นชมและสนพระทัย  จึงให้เจ้าหน้าที่มาสอน อบรม การตัดชุด และสอนการย้อมสีต่างๆ รวมถึงนำวัตถุดิบผ้าไหมมาให้ รวมถึงชาวบ้านก็ตั้งกลุ่มขึ้นมา ซึ่งก็ทำให้ชาวบ้านปัจจุบันนี้มีรายได้ที่ดีขึ้น และยังนำความรู้เหล่านี้ได้สั่งสอนลูกหลานรุ่นใหม่ให้สืบทอดต่อไป



ข่าวทั้งหมด

X