1. เบาะแส
เบาะแสที่แจ้งต้องครบถ้วน เช่น ภาพหรือคลิปวีดีโอต้องบันทึกการกระทำความผิดที่ชัดเจน วัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ รายละเอียดรถ ทะเบียนรถ และอื่นๆให้มากที่สุด เพราะการส่งภาพมาลอยๆ บอกเพียงกว้างๆ ไม่ถือเป็นเบาะแสที่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดตามได้ทันที หรืออาจต้องใช้เวลามากจนเกินไป นอกจากนี้ยังต้องระบุชื่อและนามสกุลของผู้แจ้ง เลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งข้อมูลของผู้แจ้งจะปกปิดเป็นความลับ
2. ช่องทางการแจ้ง
เมื่อเบาะแสครบถ้วนแล้ว สามารถแจ้งมาได้ที่ไลน์แอด @ebn6703w ,สายด่วนสำนักเทศกิจ 02-465-6644 ,Email : citylaw_bma@hotmail.com ,Facebook : สำนักเทศกิจ กรุงเทพมหานคร ,สายด่วนเทศกิจ โทร. 02-465-6644

3. การดำเนินการ
เมื่อส่งเบาะแสเข้ามาแล้ว เจ้าหน้าที่เทศกิจจะต้องส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่วงทางบก เพื่อขอที่อยู่การจดทะเบียนของรถจักรยานยนต์คันดังกล่าว เมื่อได้มาแล้วจึงจะจัดส่งจดหมายไปยังเจ้าของรถให้มาชำระค่าปรับ ซึ่งถ้าเจ้าของรถเข้ามาชำระค่าปรับทันที ก็ถือว่าสิ้นสุดคดี
4. หากเพิกเฉย
หากเจ้าของรถเพิกเฉยไม่มาชำระค่าปรับ ทางสำนักเทศกิจจะส่งเรื่องไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อติดตามดำเนินคดีต่อไป ซึ่งก็ต้องมีกระบวนการและขั้นตอนอีกพอสมควร
5. การติดตามเรื่อง
สำหรับกรณีที่แจ้งเบาะแสมาสมบูรณ์ จะต้องมีเลขที่รับเรื่องสำหรับติดตามความคืบหน้า แนะนำให้ถามผู้รับเรื่องให้เรียบร้อยตั้งแต่แรก ส่วนการติดตามให้ใช้ช่องทางเดียวกันกับที่แจ้ง หรือต้องติดต่อโดยตรงที่ฝ่ายเทศกิจของแต่ละสำนักงานเขต
6. การรับเงินส่วนแบ่ง
หากเป็นความผิดเล็กน้อย เจ้าหน้าที่อาจเรียกผู้กระทำความผิดเข้ามาเพื่อตักเตือนเท่านั้น แต่ถ้าเป็นความผิดที่มีการเปรียบเทียบปรับและมีการจ่ายค่าปรับเสร็จสิ้น ผู้แจ้งถึงจะได้เงินส่วนแบ่ง ซึ่งจะมีจดหมายส่งมาตามที่อยู่ที่กรอกไว้แต่ต้นให้มารับเงินภายใน 60 วัน ที่สำนักงานเขตพื้นที่รับผิดชอบ

ทั้งนี้ จากข้อมูลของกรุงเทพมหานคร พบว่า สำนักเทศกิจสามารถจับปรับได้จริงและแบ่งเงินให้ผู้แจ้งเบาะแสแล้วเพียง 20% ของจำนวนเบาะแสที่แจ้งมาเป็น 10,000 คดี เท่านั้น ยังมีทั้งติดตามไม่ได้ และอยู่ระหว่างติดตามดำเนินคดีอีกก็ไม่ใช่น้อย ถึงตรงนี้อาจต้องพิจารณาแล้วว่า แค่บังคับใช้กฎหมายอาจไม่พอจริงๆ หรือต้องไปปรับ 'สันดาน' และ 'จิตสำนึก' ตามที่ท่านผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เคยกล่าวไว้