ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน นำโดย นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายมนัส กำเนิดมณี รองอธิบดีกรมชลประทาน นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน(ด้านบำรุงรักษา) นายธีระพล ตั๊งสมบุญ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา และเจ้าหน้าที่ร่วมประชุม ติดตามสถานการณ์ หลังจากพายุปาบึก อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน เมื่อเวลา 07.00 น. ของวันนี้ และได้เคลื่อนลงทะเลอันดามันแล้ว
สำหรับจังหวัดที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากต่อเนื่องไปอีก 1 วัน จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด จำนวน 9 จังหวัด ประกอบด้วย เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 4 แห่ง มีปริมาณน้ำเฉลี่ย ร้อยละ 82 มีช่องว่างเพียงพอสามารถรองรับปริมาณน้ำได้
อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 7 แห่ง มีความเสี่ยงน้ำเต็มความจุที่ระดับเก็บกัก อ่างเก็บน้ำคลองหยา จ.กระบี่
อ่างเก็บน้ำห้วยลึก จ.กระบี่ อ่างเก็บน้ำคลองกะทูน จ.นครศรีธรรมราช อ่างเก็บน้ำคลองดินแดง จ.นครศรีธรรมราช
อ่างเก็บน้ำห้วยสามเขา จ.เพชรบุรี อ่างเก็บน้ำห้วยสงสัย จ.เพชรบุรี อ่างเก็บน้ำคลองสวนหนัง จ.สุราษฎร์ธานี
อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 21 แห่ง มีปริมาณน้ำเฉลี่ยร้อยละ 80 – 90 ของความจุเก็บกัก ยังคงต้องติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 11 แห่ง ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีช่องว่างเพียงพอสำหรับรองรับปริมาณน้ำ
CR:ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน