รถโฆษณาเคลื่อนที่ ใช้เสียงที่ดังเกินไป นอกจากสร้างความรำคาญ ยังมีความผิดทางกฎหมาย!

25 สิงหาคม 2563, 15:15น.


     รู้กันหรือไม่? รถโฆษณาเคลื่อนที่ที่ใช้เครื่องขยายเสียง มีหลายรูปแบบไม่ว่าจะโฆษณาขายของ รับซื้อสินค้า โฆษณางานต่างๆ หาเสียงเลือกตั้ง หรือชุมนุมเรียกร้อง ซึ่งถ้าหากมีการใช้เสียงที่ดังเกินไป นอกจากจะเป็นปัญหาเสียงรบกวน สร้างความรำคาญแก่ผู้ได้ยินแล้ว ยังมีความผิดทางกฎหมายอีกด้วย




ปัญหาเสียงรบกวน จากรถโฆษณาเคลื่อนที่


- ใช้เครื่องขยายเสียงในวันและช่วงเวลาที่ไม่ควรใช้ (ใช้เสียงช่วงเช้าเกินไป หรือดึกเกินไป)


- ใช้เครื่องขยายเสียงใกล้สถานที่ที่ต้องการความเงียบสงบ


- เปิดเครื่องขยายเสียงเสียงถัง


- ใช้ครื่องขยายเสียงกำลังขยายมาก และลำโพงจำนวนมาก


- ไม่ได้คิดถึงผลกระทบที่จะเกิดกับผู้ได้ยินเสียง




สถานที่ที่ไม่ควรใช้เครื่องขยายเสียงภายในระยะ 100 เมตร


- ศาลในระหว่างการพิจารณา


- หอสมุด / ห้องสมุด


- สถานศึกษา


- สวนสาธารณะ


- สถานที่ที่มีป้ายห้ามใช้เสียง


- โรงพยาบาล


- ศาสนสถาน / สถานปฎิบัติธรรม


- สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงเด็ก / รับเลี้ยงคนชรา




ใช้เครื่องขยายสียง ใช้แล้วเสียงดัง มีความผิดหรือไม่ ?


ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมการโมษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493


     - โฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง โดยไม่ขออนุญาต : ปรับสูงสุด 200 บาท (มาตรา 9)


     - ผู้ใช้เสียงและผู้ควบคุมเครื่องขยายเสียง ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาต : ปรับสูงสุด 200 บาท และอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาต (มาตรา 9)


     - เสียงที่โฆษณาก่อความรำคาญ : ต้องลดเสียงตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 6)


ความผิดตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ.2535


     - ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการลดเสียงที่ก่อความรำคาญ : จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับสูงสุด 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 74)


ความผิดตาม พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558


     - ปราศรัยหรือจัดกิจกรรมในการชุมนุมโดยใช้เครื่องขยายเสียง ในระหว่างเวลา 24.00น. ถึงเวลา 06.00น. ของวันรุ่งขึ้น


     - ใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าที่มีขนาดหรือระดับเสียงตาม ที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประกาศกำหนด : จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับสูงสุด 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 31)


ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา


     - ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึงจนทำให้ตกใจหรือเดือดร้อน : ปรับสูงสุด 1,000 บาท (มาตรา 370)


ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ
X