!-- AdAsia Headcode -->

ใช้นาน ทนทานขึ้น!! ถนนยางพาราประสิทธิภาพดีกว่าถนนคอนกรีตปกติ เตรียมสร้างเพิ่ม 670 เส้นทางทั่วประเทศแล้วเสร็จภายใน 2 ปี

10 กรกฎาคม 2562, 17:20น.


            เป็นที่ทราบกันดีว่าราคายางพาราในประเทศไทยตกต่ำลงเรื่อยๆ ผลผลิตที่มีออกมาไม่ได้ลดจำนวนลงเลย ในขณะเดียวกันมีผลวิจัยจากศูนย์วิจัยฉะเชิงเทราถึงยางพาราว่าสามารถนำมาผสมทำถนนให้มีความทนทานได้ ล่าสุดมีข่าวดีสำหรับชาวเกตรกรยางพารา นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อนำยางพารามาทำถนน            ถึงแม้ว่าการก่อสร้างถนนด้วยส่วนผสมของยางพาราจะเกิดขึ้นบ้างแล้วในบางจังหวัดของประเทศไทย เช่น ขอนแก่น เชียงราย ลำปาง  ฯลฯ แต่หลังจากที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้นำเรื่องยางพาราเข้าหารือในที่ประชุมและได้ข้อสรุปว่า จะอนุมัติงบประมาณ 2.5 พันล้านบาท เพื่อนำยางพารามาใช้ทำถนนจากเดิม 400 กว่าเส้นทาง เป็น 670 เส้นทาง ทั่วประเทศ ซึ่งจะดำเนินการภายในปี 2562-2563 รวมระยะเวลา 2 ปี พร้อมมอบหมายให้หน่วยทหารพัฒนาและหน่วยทหารช่าง กองทัพบก เร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็ว นอกจากนี้ยังเล็งเห็นความสำคัญของยางพาราที่นอกจากนำมาทำถนนก็ให้นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ที่นอน หมอน ฯลฯ รวมถึงจัดตั้งโรงงานแปรรูปน้ำยางพาราให้เป็นแผ่น เพื่อช่วยแปรรูปยางพารา เพิ่มมูลค่าในพื้นที่ และลดปริมาณยางพาราในประเทศให้ลดลงมากขึ้น            สำหรับถนนยางพารานั้น นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มอุตสาหกรรมยาง สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ผู้ซึ่งทำการวิจัยเรื่องถนนยางพาราผสมกับยางมะตอยมานานหลายปี และได้ผลวิจัยว่ายางพารามีคุณสมบัติที่แข็งแรงมาก ทนต่อความร้อนที่มีจุดหลอมตัว 60 องศา เหมาะกับสภาพอากาศในประเทศไทย รวมถึงมีความยืดหยุ่นมาก สามารถคืนตัวกลับได้ดี            ทั้งนี้ เมื่อนำยางพารามาผสมกับยางมะตอยจะทำให้พื้นถนนมีผิวเรียบเนียน ไม่ขรุขระ และยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องความฝืดที่ช่วยต้านทานการลื่นไถล อย่างร่องล้อที่ถนนยางพาราจะเกิดร่องลึกเกิน 1 ซม. เพียง 53% ทำให้ยางรถยนต์ทุกชนิดยึดเกาะพื้นถนนได้ดี ไม่ลื่นง่าย โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนที่มีฝนตกหนักถนนเปียกลื่น ในขณะที่ถนนคอนกรีตปกติจะเกิดรอยหลุม พื้นผิวไม่สม่ำเสมอเร็วกว่า หรือการเกิดร่องลึกเกิน 1 ซม. ก็มากกว่าถนนยางพาราถึง 85.5% ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเกิดอุบัติเหตุได้



รูปภาพ : กรมประชาสัมพันธ์, SCB EIC



 

X