1. พระธาตุช่อแฮ
อยู่ในตำบลช่อแฮ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ ๙ กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข ๑๐๒๒ ) เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คู่เมืองแพร่ ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๗๙-๑๘๘๑ ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) ดอยขุนลั๊วะอ้ายก้อม พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ พระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองศิลปะเชียงแสนสูง ๓๓ เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๑๑ เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูน หุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง
สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้นบ้างว่าได้มาจากชื่อ ผ้าแพรชั้นดี ทอจากสิบสองปันนาและชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลั๊วะอ้ายก้อมนำมาถวาย ทุกปีจะมีงานนมัสการไหว้พระธาตุช่อแฮเมืองแพร่แห่ตุงหลวงในวันขึ้น ๙ ค่ำ – ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ (ประมาณเดือนมีนาคม) ของทุกปี
พิกัด GPS : 18.086472, 100.204500
2. วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร
ตั้งอยู่ริมถนนเจริญเมือง อำเภอเมืองแพร่ ใกล้ศาลากลางจังหวัดแพร่ สร้างขึ้นโดยรวมวัดโบราณ ๒ แห่ง เข้าด้วยกันคือ วัดพระบาทและวัดมิ่งเมือง ปูชนียวัตถุสำคัญคือของวัดคือ พระพุทธโกสัยศิริชัยมหาศากยมุนี พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัด พระเจดีย์มิ่งเมือง ซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่ และรอยพระพุทธบาทจำลอง มีพระธาตุมิ่งเมืองเป็นสัญลักษณ์ วัดทั้งสองแห่งนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าเจ้าผู้ครองนครแพร่เป็นผู้สร้าง และวัดพระบาทน่าจะสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๐ เมื่อปี พ.ศ. พิกัด
GPS : 18.143894, 100.140539
3. บ้านวงศ์บุรี
ตั้งอยู่เลขที่ ๕๐ ถนนคำลือ (ถนนหลังจวนผู้ว่าฯ สี่แยกพระนอนเหนือ) ใกล้วัดพงศ์สุนัน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยเจ้าพรหม (หลวงพงษ์พิบูลย์) และเจ้าสุนันตาวงศ์บุรี ธิดาเจ้าบุรี (พระยาบุรีรัตน์) ช่างที่สร้างบ้านหลังนี้มาจากเมืองกวางตุ้ง ประเทศจีน และช่างไม้พื้นถิ่น ลักษณะเป็นบ้านไม้สักทรงปั้นหยาสองชั้นแบบยุโรปประยุกต์ เพดานสูงหลังคาสูง ฐานเป็นอิฐและซีเมนต์สูงจากพื้น ๑ เมตร หลังคาสองชั้น มีช่องระบายลมระหว่างชั้นที่สองเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศ เนื่องจากบ้านหันหน้าเข้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จึงมีลมพัดเย็นในฤดูร้อน จุดเด่นของอาคารคือ ลวดลายไม้แกะสลักที่หน้าจั่ว ชายคา ระเบียงช่องลม ชายน้ำหน้าต่าง และประตู ที่ประตูด้านหน้าเป็นปูนปั้นรูปแพะ ซึ่งเป็นตัวแทนของหลวงพงษ์พิบูลย์และแม่เจ้าสุนันทา ซึ่งเกิดในปีแพะ ต่อมาได้มีการซ่อมแซมแต่ลวดลายแกะสลักยังคงเป็นของเดิม ภายในบ้านตกแต่งด้วยสิ่งของเครื่องใช้เก่าแก่ของตระกูลที่ถ่ายทอดกันมาหลายชั่วอายุได้แก่ เครื่องเรือน เครื่องเงิน เครื่องปั้นดินเผา เอกสารที่สำคัญ เช่น เอกสารการซื้อขายทาส เอกสารการซื้อขายเพชร
บ้านวงศ์บุรีได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นปี ๒๕๓๖ ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์บ้านวงศ์บุรีเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์หลายเรื่องและตีพิมพ์ในหนังสือต่าง ๆ เปิดให้ชมทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. อัตราค่าเข้าชมชาวไทยและชาวต่างประเทศคนละ ๓๐ บาท
พิกัด GPS : 18.143498, 100.136285
4. บ้านทุ่งโฮ้ง หม้อห้อม
อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๔ กิโลเมตร บนถนนยันตรกิจโกศล ทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ สานแพร่-น่าน หมู่บ้านทุ่งโฮ้งเป็นชุมชนไทยพวนที่ได้ย้ายถิ่นฐานมาจากเมืองเชียงขวางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปัจจุบันนับเป็นแหล่งผลิตเสื้อหม้อห้อมที่มีชื่อเสียงของประเทศ
พิกัด GPS : 18.165945, 100.181898
5. คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่
ตั้งอยู่บนถนนคุ้มเดิม หน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ใน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยเจ้าหลวงพิริยะชัยเทพวงศ์ ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองเมืองแพร่องค์ คุ้มแห่งนี้เป็นอาคารโอ่โถง มีประตูหน้าต่างทั้งหมด ๗๒ บาน งดงามด้วยลวดลายไม้ฉลุ ตัวอาคารก่ออิฐ ถือปูนทั้ง ๒ ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็มแต่ใช้ไม้ซุงท่อนเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่รองรับฐานเสาทั้งหลัง ห้องกลางเป็นห้องทึบ แสงสว่างส่องเข้าไปไม่ได้ ใช้เป็นที่คุมขังทาสบริวารที่ทำผิดร้ายแรง ส่วนห้องทางปีกซ้าย และขวามีช่องพอให้แสงส่องเข้าไปได้บ้าง ใช้เป็นที่คุมขังผู้ที่มีความผิดขั้นลหุ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
พิกัด GPS : 18.144237, 100.138950