นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย อัพเดตสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนล่าสุดของประเทศไทย ก่อน WHO จะประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2561 นี้ โดย บรรยายในหัวข้อ “วิบัติอุบัติเหตุไทยในสายตาชาวโลก” และ “เวียดนามกำลังชนะไทย”
รายงานปี 2559 มีคนเสียชีวิตบนถนนกว่า 22,491 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถ จยย. รถปิคอัพ คนเดินถนน และรถจักรยาน รวม Vulnerable Road Users (VRUs) รวมเป็น 93% ที่เสียชีวิตสูงที่สุดในโลก นอกจากการบาดเจ็บถึงปีละ 1 ล้านราย และกว่า 4 หมื่นคนของคนไทยเป็นคนพิการรายใหม่ นับเป็นจำนวนเงินเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่า 5 แสนล้านบาท ( ตายมากกว่าโรคพิษสุนัขบ้า ไข้เลือดออก 200 เท่า ฆาตกรรม 5 เท่า ) ขณะที่ World Atlas ระบุไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเป็นอันดับ 1 ของโลก ทำไมคนไทยต้องตายมากมายขนาดนี้
องค์การสหประชาชาติประกาศเสาหลัก 5 เรื่องการจัดการบนถนน ซึ่งไทยยังมีปัญหาเรื่องการจัดการกับ การควบคุมพฤติกรรมเสี่ยง รถและถนนของไทยยังต่ำกว่ามาตรฐาน ยกตัวอย่าง เรื่องการสวมหมวกนิรภัยยังมีคนใส่ไม่ถึง 50%
กรณีของประเทศเวียดนาม ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็น World Succession Story ที่มีการจัดการที่ดี คนเสียชีวิตลดลงเรื่อยๆ ทุกประเทศในอาเซียนเริ่มลดลง เวียดนามใช้ จยย. 90% ในอาเซียน ประเทศไทยเป็นลำดับที่ 7 แต่ประเทศไทยกลับตาย เพราะ จยย.ถึง 72% ของอาเซียนเป็นอันดับ 1 ที่เวียดนามสถิติการเสียชีวิตน้อยกว่าไทยเพราะมี หน่วยงานที่จัดการอย่างเข็มแข็ง มีการตั้งคณะกรรมการของ Safety Committee มีหน่วยงานรัฐเช่น กระทรวงคมนาคม ตำรวจ สื่อมวลชน NGOs อยู่ในคณะทำงานที่มีอำนาจจัดการ มี smart driving license มี GPS ตรวจติดตามในรถสาธารณะ มีการจัดการความเร็ว เป็นต้น เวียดนามเปลี่ยนไปมากเพราะมีหน่วยงานนี้ กลายเป็นคนใส่หมวกกันน็อกทั้งประเทศ อุบัติเหตุศีรษะลดลง 85% เด็กต้องสวมหมวกกันน็อกด้วย มีห้องควบคุมบนทางหลวง มีเจ้าหน้าที่ประจำ 24 ชม. คนตายลดลงอย่างต่อเนื่อง
ด้านนายแพทย์วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์ ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า ต้นปีหน้าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยต้นปีหน้า จะเกิด big change ของสื่อจะเกิดการมองปรับหมุดทางการเมือง สำหรับประเทศไทยเรา ยังไม่ทราบผลว่า รายงานฉบับใหม่จะเป็นอย่างไร ปี 2559 ตัวเลขยังตายสูงกว่า 2 หมื่น เทียบกับอาเซียน เราเสียชีวิตมากกว่า สิงคโปร์ มาเลเซียถึง 10 เท่า เงินกว่า 5 แสนล้านที่สูญเสียไปคิดเป็น 6% ของ GDP หรือเท่ากับเครื่องบินแอร์บัสตก ปีละ 200 กว่าลำ ถ้าผู้นำรัฐบาลหรือพรรคการเมืองมีนโยบายที่จะรักษาชีวิตคนไทยได้จะเป็นการดีมาก จดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ ต้องการเรียกร้องให้พรรคการเมือง เข้ามาทำให้การพัฒนาของประเทศไทยยั่งยืนตามที่ให้คำสัญญาไว้กับ UN การมองเป้า SDGs หรือ Global Target Indicators มี 12 ตัวชี้วัด สำคัญ ที่ระบุกรอบเวลาชัดเจน ถ้าทำได้การตายลดลงกว่าครึ่งหนึ่งแน่นอน ตัวอย่างตัวชี้วัด 3 ข้อของ SDGs
1) ทุกข้อตั้งเป้าว่า ประเทศต่างๆ ให้เวลาทำ 12 ปีภายในปี 2030 แต่ที่ต้องทำภายในปี 2020 คือ
- ต้องมีแผนที่ดี กำหนดงบประมาณ
- ต้องมีองค์กรหลักที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ มีอำนาจสั่งได้ มีทรัพยากรในการจัดการ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ
- มีการประเมินเชิงสถาบันในหนังสือ WHO ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ว่า การบริหารจัดการของไทยไม่มีประสิทธิภาพ ยกการประชุม นปถ. 4 ปี ประชุม 2 ครั้ง ถ้ายังเป็นเช่นนี้ ปัญหาจะไม่ได้รับการแก้ไข
2) การประกาศใช้มาตรฐานยานพาหนะ ไม่มีการใช้มาตรฐานตามที่กำหนด ไม่มีอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอย่างครบถ้วน ไม่มีการประเมินผ่าน NCAP ขณะที่รถออกใหม่ของต่างประเทศต้องดูว่า มีมาตรฐานกี่ดาว ประเทศไทยไม่มี เพราะวิสัยทัศน์ทางการเมืองของไทยต่อเรื่องนี้ต่ำ
3) กำหนดให้มีการประเมินมาตรฐานถนน (Star Rating ของ iRAP )มีหลายประเทศที่ทำตามแล้วสามารถจัดการได้ ประเมินและทำให้ได้มาตรฐาน การตายลดลงครึ่งหนึ่ง 80 กว่าประเทศทั่วโลก
รัฐสภาของไทย เช่นกัน ต้องมีการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างประเทศอังกฤษ ทำงานแบ่งกันเป็น 5 คณะ เช่น จะปูถนนอย่างไรให้ลดโลกร้อน จัดการ traffic calming ทำ motorway ที่วิจัยว่าทำอย่างไรให้ระบบขนส่งไปได้มีประสิทธิภาพ มีการทำวิจัยเพื่อให้การมองของรถบรรทุกไม่ไปทับ จยย. ที่ทำได้เพราะรัฐสภามาทำงาน
เลือกตั้งครั้งนี้จะมีพรรคการเมืองใดเสนอแผนความปลอดภัยทางถนนที่เป็นเจตจำนงเพื่อรักษาชีวิตคนไทยหรือไม่ ??