!-- AdAsia Headcode -->

ง่ายนิดเดียว!!! ตรวจเชื้อ HIV ฟรี แค่มีบัตรประชาชน

10 กรกฎาคม 2561, 21:00น.


        ปัจจุบันยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังให้ความสำคัญกับผู้ที่ติดเชื้อ HIV (เอชไอวี) รวมถึงผู้ป่วยโรคเอดส์ อยู่ ซึ่งหลาย ๆ ฝ่ายพยายามคิดค้นหาตัวยาต่าง ๆ เพื่อที่จะนำมารักษาอาการเหล่านั้นให้หายไป โดยการตรวจหาเพื่อรักษาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก แน่นอนว่าการรักษาหรือตรวจหาเชื้อ HIV (เอชไอวี) ก็ได้มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ เช่นกัน และเป็นเรื่องยากที่ผู้มีความเสี่ยงที่รู้ตัวจะกล้าเดินหน้าเข้าโรงพยาบาล เพราะบ้างก็อายสายตาคนรอบข้าง บ้างก็กลัวจะเสียทั้งเวลาทั้งค่าใช้จ่ายที่ก็ไม่รู้ว่าจะสูงแค่ไหน แต่คุณรู้หรือไม่ว่าตอนนี้เอชไอวีสามารถตรวจหาได้ฟรีแล้วนะ และต้องทำอะไรบ้างล่ะ? แล้วถ้าอยากรู้ผลไว ๆ เดี๋ยวนี้ทำได้มั้ยนะ? ไปค่ะ เราไปหาคำตอบพร้อม ๆ กัน

        การตรวจเชื้อ HIV อดีต vs ปัจจุบัน

        จริง ๆ แล้วไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบันวิธีการตรวจโรคนี้ที่เห็นผลที่สุดคือ การเจาะเลือด เพียงแต่การรักษาจะขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลว่ามีอุปกรณ์หรือบุคลากรในการตรวจอย่างมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในอดีตต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่มีข้อแม้ รวมถึงผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องให้ผู้ปกครองเซ็นต์ยินยอม ในขณะที่ปัจจุบันเพียงแค่มีบัตรประชาชน 13 หลัก พกมากับความสมัครใจก็สามารถเข้ารับการตรวจได้แล้ว แถมยังฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ถึงปีละ 2 ครั้ง รวมถึงไม่ต้องมีผู้ปกครองมาเซ็นต์ มายืนยันอะไรเลยอีกด้วย เรียกได้ว่าใคร ๆ ก็สามารถตรวจได้ ไม่ต้องอาย ไม่ต้องกลัว



        แล้วการตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถทำได้กี่วิธี ?

        ในปัจจุบันวิธีการตรวจหาเชื้อเอชไอวี สามารถแยกได้ 3 วิธีหลักๆ ดังนี้

        1. ตรวจแบบ Anti HIV การตรวจแบบนี้จะสามารถให้ผลได้ใน 1-2 ชั่วโมงหลังตรวจ ซึ่งผลที่ได้จะเป็นผลจากร่างกายของเรา ย้อนหลังไปประมาณ 1 เดือน กล่าวคือ หากเมื่อคืนคุณมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ เช่น ถุงยางรั่ว หรือไม่สวมใส่ถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์ วิธีนี้จะใช้ไม่ได้ผล เพราะยังอยู่ในระยะฟักตัวนั่นเอง โดยการตรวจวิธีนี้หากเป็นโรงพยาบาลของรัฐจะได้รับการตรวจฟรี (เพียงแค่ยื่นบัตรประชาชน) ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 500-800 บาท ตามแต่ละโรงพยาบาล

        2. การตรวจแบบ NAT หรือ Nucleic Acid Technology สำหรับการตรวจแบบ NAT จะมีข้อ แตกต่างจาก Anti HIV คือ สามารถชี้วัดผลจากร่างกายของเราย้อนหลังไปประมาณ 3-7 วัน หลังจากได้รับความเสี่ยง ซึ่งการตรวจแบบนี้สามารถเข้ารับการตรวจแบบฟรีปีละ 2 ครั้ง ได้ที่ คลินิกนิรนาม (คลินิกนิรนามเป็นคลินิกเฉพาะทางที่ให้คำปรึกษาด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สภากาชาดไทย ตั้งอยู่ที่ ถนนราชดำริ) หรือโรงพยาบาลเอกชนทั่วไป (ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล)

        3. การตรวจแบบ Rapid HIV Test หรือชุดตรวจ HIV แบบรู้ผลวันเดียว ปัจจุบันการตรวจวิธีนี้ใช้เวลารอผลเพียง 20 นาทีเท่านั้น ซึ่งเร็วกว่าชนิดอื่นๆ แต่ก็เป็นเพียงการตรวจเพื่อคัดกรองในเบื้องต้นเท่านั้น ปัจจุบันการตรวจแบบนี้สามารถตรวจได้เองที่บ้านผ่านโครงการ Adam’s Love HIV Self Testing เพื่อรองรับการตรวจที่ทำให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น



        เมื่อติดเชื้อเอชไอวีแล้ว สามารถดูแลชีวิตให้มีความสุขและยืนยาวได้นะ

        ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อผู้ป่วยรู้ตัวเองว่าติดเชื้อ HIV แล้วจะไม่เกิดความเครียด หรือวิตกกังวลใด ๆ ซึ่งอย่างที่บอกว่าการติดเชื้อ HIV สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร ดังนั้นการทำตนให้แข็งแรงทั้งกายและใจ จึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้ชีวิตของเรามีความสุขและยืนยาวได้ ซึ่งเราก็มีวิธี ง่าย ๆ มาแนะนำค่ะ

        1. หาความรู้เกี่ยวกับโรคนี้จากบุคคลากรทางการแพทย์ หนังสือ อินเตอร์เน็ต หรือผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วและเต็มใจมาให้คำแนะนำ หรือรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะทำให้ไม่ตื่นตระหนก วิตกกังวลจนเกินไป รวมถึงสามารถปฏิบัติตนในการป้องกันการแพร่เชื้อ และการติดเชื้อโรคอื่น ๆ ที่จะเข้ามาแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง



        2. กินยาที่ใช้ควบคุมการเพิ่มปริมาณของเชื้อไวรัสนี้อย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้ขาดยา



        3. อย่าทำให้ร่างกายอ่อนแอด้วยอบายมุขต่าง ๆ เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การเที่ยวกลางคืน โดยควรจะพักผ่อนนอนหลับให้พอเพียงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้



        4. ควรศึกษาวิธีการจัดการความเครียดต่าง ๆ เช่น สวดมนต์ นั่งสมาธิ ออกกำลังกาย หรือหากิจกรรมต่าง ๆ ทำ (ที่ตนเองชอบ) เพื่อลดความเครียดของจิตใจลง



        5. อย่าซื้อยากินเองโดยเฉพาะยาชุด หรือยาลูกกลอนที่ไม่รู้ที่มาหรือผู้ผลิตที่ชัดเจน เพราะอาจจะได้รับสารสเตียรอยด์ (Steroid) โดยไม่รู้ตัว ยาพวกนี้จะกดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ทำให้ติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อฉวยโอกาสต่างๆได้ง่ายขึ้น และอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้



        อย่างไรก็ดี การที่ผู้มีความเสี่ยงจะเข้ารับการตรวจ/รักษาได้นั้น นอกจากความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจแล้ว บุคคลรอบข้างก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะต่อให้ตรวจฟรี ตรวจง่ายแค่ไหน แต่ถ้าทัศนคติที่มีต่อคนเหล่านี้ยังไม่เปลี่ยนไป ยังคงมองด้วยสายตาสงสัย รังเกียจ ก็คงไม่มีใครอยากเข้ารับการตรวจ/รักษาแน่นอน ดังนั้นเรามาช่วยกันสร้างรอยยิ้ม สร้างกำลังใจให้กันน่าจะดีกว่านะคะ

        ที่มา  : honestdocs.co, haamor.com

        รูปภาพ : rtv.de, x7research.ru, clotho-web.com, anarchak.com

X