แต่ละช่วงวัยต้องการ “สารไอโอดีน” ไม่เท่ากัน หากได้รับไม่เพียงพอเสี่ยงเกิดภาวะผิดปกติตามมา

28 มิถุนายน 2564, 15:17น.


วันที่ 25 มิถุนายนของทุกปีถือเป็นวันไอโอดีนแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันมีการยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า “โรคขาดสารไอโอดีน” เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับชาติ เนื่องจากสารไอโอดีนมีความสำคัญต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตในทุกๆ ด้าน โดยแต่ละช่วงวัยมีความต้องการสารไอโอดีนไม่เท่ากัน หากรับสารไอโอดีนไม่เพียงพอจะทำให้เกิดภาวะผิดปกติตามมาได้ ด้วยความห่วงใยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงจะเป็นผู้ออกมาธิบายสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

            ภาวะผิดปกติจากการขาดสารไอโอดีน


            ภาวะผิดปกติจากการขาดสารไอโอดีนนั้น สามารถพบได้ทุกช่วงวัยตั้งแต่ทารกในครรภ์ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยแต่ละช่วงวัยได้รับผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้

            - ทารกในครรภ์ อัตราการแท้งหรือตายสูง

            - ทารกแรกเกิด ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติมีอัตราป่วยและตายสูง

            - เด็กและวัยรุ่น สมองพัฒนาช้าปัญญาอ่อน

            - ผู้ใหญ่ คอพอกและร่างกายอ่อนแอเพศชายสมรรถภาพทางเพศเสื่อม เพศหญิงประจำเดือนผิดปกติ

            ความต้องการไอโอดีนต่อร่างกายที่ควรรู้

            ในส่วนของคนปกติอย่างเราๆ ต้องการไอโอดีน 100 - 150 ไมโครกรัมต่อวัน ส่วนหญิงมีครรภ์ ต้องการไอโอดีนอย่างน้อย 200 -250 ไมโครกรัมต่อวัน ซึ่งแม้ต้องการไม่มากแต่ก็ขาดไม่ได้ โดยวิธีสังเกตผลิตภัณฑ์ที่เสริมไอโอดีนจะมีคำว่า “ผสมเกลือไอโอดีน” “ใช้ไอโอดีนเป็นส่วนผสม” หรือ “ผสมไอโอดีน” หากมีก็สามารถซื้อใช้งานได้ทันที

           เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราทุกคนต้องให้ความสำคัญต่อการได้รับไอโอดีนเข้าสู่ร่างกายอย่างเพียงพอให้มาก เพื่อป้องกันความเสี่ยงเข้าข่ายภาวะผิดปกติจากการขาดสารไอโอดีนที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย



 



ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) 





 



 

X