หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สังเกตได้ว่ามีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการกินของตนเองได้ นั่นอาจเสี่ยงเข้าข่ายป่วยด้วยโรค “Binge Eating Disorder” ทว่าโรคนึ้มีอาการแท้จริงเป็นอย่างไร แล้วสามารถรักษาด้วยวิธีไหน ด้วยความห่วงใยจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขจึงจะเป็นผู้ออกมาอธิบายสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
“Binge Eating Disorder” กลุ่มเสี่ยง และอาการของโรค
Binge Eating Disorder (บิ้นจ์-อีทติ้ง) พบได้มากประมาณ 1 – 3% บ่อยสุดในช่วงอายุ 12 – 25 ปี โดยที่เพศหญิงเสี่ยงกว่าเพศชาย 1.5 – 6 เท่า ซึ่งมีหลายช่วงเวลาที่จะมีพฤติกรรมกินอาหารปริมาณมากกว่าคนทั่วไป รู้สึกควบคุมตัวเองไม่ได้เลยว่าควรหยุดกินหรือควรกินมากเท่าไหร่ ในช่วง binge มีอาการเหล่านี้ตั้งแต่ 3 อาการขึ้นไป คือ
- กินเร็วกว่าปกติมาก
- กินจนรู้สึกแน่นไม่สบายตัว
- กินเยอะมาก ทั้งที่ไม่รู้สึกหิว
- กินคนเดียวเพราะรู้สึกอายที่กินเยอะ
- รู้สึกรังเกียจตัวเอง ซึมเศร้า รู้สึกผิดมาก หลังจากกิน
วิธีการรักษา Binge Eating Disorder
สำหรับวิธีการรักษานั้นควรรีบเข้ารับการปรึกษาจากจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญหากสงสัยว่าตนเองเริ่มมีอาการ โดยจะรักษาจะใช้เป็นยาควบคู่ไปกับการทำจิตบำบัด เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด
Binge Eating Disorder นั้น จัดอยู่ในกลุ่มโรคการกินผิดปกติ ซึ่งมีโรคอะนอเร็กเซีย (Anorexia Nervosa) และโรคบูลิเมีย (Bulimia Nervosa) อยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่ Binge Eating Disorder นั้น จะไม่มีอาการชดเชยการกินเยอะ เช่น ล้วงคอให้อาเจียน กินยาถ่าย ออกกำลังกายอย่างหักโหม โดยพฤติกรรม binge จะเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน และมีผลกระทบอย่างมากกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย
ข้อมูล : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข