หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก "ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha" ระบุว่าจับตาดูสัดส่วนคนติดเชื้อที่มีอาการต่อไม่มีอาการ
สมุทรสาคร แรงงานแข็งแรงไม่มีอาการ เริ่มเดือนมกราคม
ถ้าต่อจากนี้ บางแค ในเดือนมีนาคม มีอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ
1. เชื้อปรับตัวเองให้เก่งขึ้น แม้ไม่ต้องนำเข้า สายบราซิล อังกฤษ แอฟริกาด้วยซ้ำ และกลายเป็นสายใหม่ หลบหลีกกระบวนการต่อสู้ของร่างกายเก่งขึ้น และน่าจะมีผลดื้อต่อวัคซีนหรือไม่
2. เชื้อยังไม่เปลี่ยนมาก แต่คนติดเชื้อไม่แข็งแรงเท่าแรงงานในต้นระลอกสองจะเป็นอะไรก็ตาม หยุดการแพร่ให้เร็วที่สุด ต้องไม่ปล่อยให้ไปแพร่กันเองต่อ เช่น เข้าแถวรอแยงจมูกเป็นร้อยเป็นพัน และ “แยงครั้งเดียว แน่นอนหลุดได้มาก”
15 เดือนแล้วจากมกราคม 2563 ต้องคิดใหม่ ปฎิบัติใหม่ ท่องขึ้นใจ... ปล่อยให้แพร่ = เปิดโอกาส ให้เชื้อเปลี่ยนหน้าตา สายพันธุ์ที่เพี้ยน ดื้อวัคซีน และตรวจยากขึ้น ไม่ใช่เป็นผลจากการปล่อยให้ติดระบาดไปทั่วหรือ ในหลายประเทศทั่วโลกขณะนี้วัคซีนฉีดแล้ว ถ้าเจอตัวดื้อ ไม่ใช่เพียงไม่ได้ผล อาจเกิดวัคซีน กระพือ ความรุนแรงเมื่อติดเชื้อ (vaccine enhanced disease severity)ติดเชื้อโควิด-19