ภายหลังการประชุมนัดแรกของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้เน้นการบูรณการติดตามการตรวจสอบการทุจริต ซึ่งได้แนะนำให้มีการแยกกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต เพื่อที่จะสามารถขยายผลไปยังนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงได้ และให้มีการแยกประเภทกิจการที่มีการทุจริตอยู่บ่อยครั้ง เช่น การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ,การสอบคัดเลือก ,การทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง ,การขออนุมัติการดำเนินงานต่าง ๆ ,การขอรับผลประโยชน์จากภาครัฐ ,และกลุ่มที่ต้องการใช้ทรัพย์สินของรัฐที่อาจนำไปสู่การทุจริต ซึ่งเมื่อจัดกลุ่มได้แล้วก็จะใช้วิธีการ 4 ป. คือ ป้องปราม ,ปลูกจิตสำนึก ,ปราบปราม ,และประชาสัมพันธ์ เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้รับรู้และไม่กล้ากระทำการทุจริต อย่างไรก็ตามที่ประชุมยังได้เสนอให้มีการทำข้อตกลงคุณธรรม ซึ่งจะเป็นสัญญาอีก1ฉบับ ที่เพิ่มเติมจากสัญญาฉบับปกติ แนบท้ายในเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ในฐานะผู้สังเกตการณ์ ในกระบวนการตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้น ซึ่งหากมีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องก็สามารถรายงานผู้บังคับบัญชา และนายกรัฐมนตรี ได้โดยตรง ซึ่งรายละเอียดนี้จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ครม. ในวันที่ 20ม.ค.สำหรับเนื้อหาของการทำข้อตกลงคุณธรรม ได้ระบุให้อำนาจว่า หากผู้สังเกตการณ์เมื่อพบว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้สังเกตการณ์ ก็จะถือว่าจงใจปกปิด โดยอาจจะมีโทษทางวินัย รวมไปถึงผลกระทบต่อการแต่งตั้งโยกย้าย อีกทั้งจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ในการดำเนินการเอาผิดตามขั้นตอนต่อไปทั้งนี้ในส่วนคดีทุจริตที่ค้างอยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นเรี่องที่ สนช. จะเป็นผู้ดำเนินการตามหน้าที่ และเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนแล้วจะมีการดำเนินการต่ออย่างไรนั้น ก็เป็นเรื่องที่องค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณา เช่น การเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่ง หรือดำเนินคดีอาญากับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะไม่สามารถเร่งรัดขั้นตอนได้ด้านนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น (ประเทศไทย) กล่าวว่า การใช้ข้อตกลงคุณธรรมจะเริ่มใน 2 โครงการของรัฐ คือ โครงการจัดซื้อรถเมล์ NGV จำนวน 3,000 คัน และการจัดซื้อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เพื่อให้เห็นว่าข้อตกลงคุณธรรมสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาการทุจริตได้จริง ก่อนขยายผลไปในโครงการอื่นของรัฐต่อไป
วิรวินท์