*ผู้เชี่ยวชาญศก.มหภาค ชี้โลกปั่นปวนเพราะราคาน้ำมันดิ่ง ไทยอาจจะไม่รับผลกระทบมากนัก*

13 มกราคม 2558, 20:53น.


ราคาน้ำมันโลกที่ ปรับตัวลดลงกว่า ร้อยละ 60 ต่ำสุดในรอบ 6 ปี นายสมชาย ภคภาสวิวัฒน์  ผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจมหภาค กล่าวกับจส.100 ว่า ราคาน้ำมันอยู่ในขาลง จากปัจจัยเศรษฐกิจโลก เติบโตไม่ได้อย่างที่คิด ภาวะน้ำมันล้นตลาด ขณะที่โครงสร้างราคาน้ำมันแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน และมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง  เช่น ซาอุดิอาระเบีย ยืนยันไม่ลดกำลังการผลิตแม้ว่า ราคาน้ำมันจะลดเหลือ 10 เหรียญก็ตาม แต่ในมุมมองของอาจารย์เห็นว่า ซาอุ ที่ไม่ลด ราคา เพราะต้องการ ขยายตลาดของตัวเองที่มีต้นทุนต่ำกว่า สหรัฐ ที่บริษัทการผลิตน้ำมัน ต้องหยุดการผลิตแล้วเพราะมีต้นทุนสูงกว่า



ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันโลก ปรับตัวลดลง  แต่ผลดีทำให้ผู้บริโภคน้ำมันเช่นประเทศไทย หรือจีน ได้ประโยชน์ไปด้วย จากการลดต้นทุนนำเข้าน้ำมัน ร้อยละ 0.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี ทำให้ค่าขนส่ง ลดลง แต่เป็นข้อเสียของประเทศผู้ผลิตน้ำมัน  ราคาน้ำมันลดลง ส่งผลต่อราคาโภคภัณฑ์ ในละตินอเมริกา  เช่น บราซิล ชิลี จะได้รับผลกระทบ ไปด้วย  ส่งทำให้ประเทศผลิตน้ำมันเบี้ยวหนี้ เช่น เวเนซูเอลา นอกจากนั้น ยังทำให้ ดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้น ในช่วงกลางปีนี้เป็นต้นไป ทำให้นักลงทุน เทขายทรัพย์สินที่ขยายตัวไม่ดีนัก เกิดความปั่นป่วน กระทบตลาดหุ้น ตลาดแลกเปลี่ยน ตลาดพันธบัตร แต่ยังมองว่า เศรษฐกิจโลก จะขยายตัวได้ ร้อยละ 3.4 



ส่วนประเทศไทยค่าเงินยังแข็งค่าที่ 32 บาท / ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ได้รับผลกระทบต่อราคายางพารา นอกจากนั้น ยังต้องรับมือกับเงินทุนไหลออก จากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเราเผชิญมาในช่วง 2 ปีมานี้ จะทำให้ตลาดหุ้นผันผวน  อัตราแลกเปลี่ยน ผลกระทบต่อประเทศไทย จะไม่มากนัก เพราะเราไม่มีปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัด ส่วนการส่งออกจากไม่กระทบมาก เพราะการสั่งซื้อสินค้า จากประเทศที่พึงพาการส่งออกน้ำมันจะลดลง เช่น รัสเซีย ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาไทยลดลง ดูได้จาก ภูเก็ตและพัทยา ขณะที่ยุโรปก็ได้รับผลกระทบจากการพึ่งพารัสเซีย จากมาตรคว่ำบาตรเพราะรัสเซีย ก็แก้เผ็ดด้วยการไม่สั่งซื้อสินค้าจากยุโรป ทำให้ วิกฤตเศรษฐกิจของยุโรป ฟื้นตัวช้า ดูจากเงินเฟ้อจากยังติดลบอยู่ 



สำหรับคนไทย อาจจะต้องระมัดระวังราคาน้ำมัน  ถ้าเล่นหุ้นก็ต้องติดตามใกล้ชิด แต่เชื่อว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้จะเติบโตได้



ด้าน นายสมภพ มานะรังสรรค์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์  มีหลายตัวแปรที่ทำให้ ราคาน้ำมันโลก ปรับตัวลดลง เช่นการใช้เทคโนโลยี ในการขุดเจาะน้ำมัน เช่นที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา การกว้านซื้อตั๋วซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า   การปรับเปลี่ยนการใช้โครงสร้างน้ำมันของจีน ที่ใช้เป็นอันดับ2 ของโลก คือลดใช้ถ่านหินและหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติแทน เพื่อลดมลภาวะเป็นพิษในอากาศ  ที่สำคัญยังเป็นการลดต้นทุนการผลิต  ซึ่งจะส่งผลทำให้ราคาน้ำมันโลก ปรับตัวลดลงภายในครึ่งปีนี้   ส่งผลกระทบต่อประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก  ทำให้ต้องถอนเงินที่ลงทุนในหลายประเทศ กระทบต่อตลาดหุ้น ตลาดทุน โลก



ขณะที่ประเทศไทย เราควรหาประโยชน์จากราคาน้ำมัน ที่ลดลง โดยให้ชาวบ้านได้รับประโยชน์ อย่างเต็มที่เช่นสินค้าจะต้องปรับราคาลดลง แต่อุตสาหกรรมพลังงานทดแทนจะได้รับผลกระทบ ส่วนการตั้งรับ ควรจะปรับเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับภาวะราคาน้ำมัน ที่ลดลงด้วย 

ข่าวทั้งหมด

X