ยอดป่วยโควิด-19 ขึ้นๆลงๆยังวางใจไม่ได้
พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (
ปิดเคส จ.สมุทรสาคร ก่อนสิ้นม.ค. 64
ในที่ประชุม
การตรวจค้นหา
สัปดาห์นี้จะเข้มข้นมาตรการที่สุด ถ้าตัวเลขดีต่อเนื่อง ภายในต้นเดือนกุมภาพันธ์อาจมีสถานศึกษาเปิดการเรียนการสอนได้ในบางพื้นที่ และถ้าตัวเลขดีเช่นนี้คาดว่าสัปดาห์หน้าจะได้ยินข่าวดี มีมาตรการผ่อนคลายในหลายจุด
คลายล็อคได้ถ้าถึง1 ก.พ.ไม่มีผู้ป่วยเพิ่ม
นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดี
เตือน! อย่าชะล่าใจ ติดเชื้อ ไม่มีอาการ
นพ.โอภาส กล่าวถึงผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นหญิงอายุ 73 ปี อยู่ที่ จ.
CR:ศบค. ศูนย์ข้อมูลโควิด-19
คนร่วมงานเลี้ยงใน 2 โรงแรม เคสดีเจมะตูม-ผู้ประกาศ NBT โหลดแอปฯ หมอชนะ
การติดเชื้อ
ส่วนการแจ้งไทม์ไลน์ของดีเจมะตูม ทำให้สอบสวนโรคได้เร็ว นพ.โอภาส กล่าวว่า จากการสอบสวนโรคในเหตุการณ์นี้พบว่าเริ่มต้นจากสถานบันเทิงที่ จ.เชียงใหม่ มีชายคนหนึ่งไปเที่ยวสถานบันเทิงแห่งนี้ ทราบว่าตอนจัดงานไม่ได้เว้นระยะห่าง ไม่สวมแมสและมีผู้ที่ติดเชื้อที่สถานบันเทิงแห่งนั้นจำนวนมาก จากนั้นชายคนดังกล่าวติดเชื้อแต่ไม่มีอาการและมาร่วมงานวันเกิดดีเจมะตูม ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องไปร่วมงานจำนวนมาก เกิดการกระจายเชื้อขึ้น ส่วนผู้ประกาศข่าว NBT จากการสอบสวนประวัติเบื้องต้น ก็พบว่าไปร่วมงานปาร์ตี้นี้เช่นกัน จากนั้นก็ไปงานเลี้ยงอีกงานหนึ่ง รวมทั้งหมดเป็น 3 กลุ่ม แต่เชื่อมโยงด้วยงานเลี้ยง มี
CR:กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
สมุทรสงคราม พบผู้เสียชีวิตก่อนการรักษา 1 ราย
ศูนย์โควิด-19 และสำนักงานประชาสัมพันธ์ จ. สมุทรสงคราม เปิดเผยสถานการณ์การติดเชื้อระลอกใหม่ว่า พบผู้เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยรายที่ 42 และพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 2 คน รายที่ 43-44
รายละเอียดของผู้เสียชีวิต
-รายที่ 42 ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 56 ปี เสียชีวิตก่อนรับไว้รักษา เป็นแม่บ้าน อยู่ที่หมู่ 1 ต.ยี่สาร อ.อัมพวา
-เมื่อประมาณ 1เดือนกว่า ผู้ป่วยมีอาการป่วย ลุกเดินไม่ไหว แต่แขนขยับ หยิบจับได้ กลางวันจะอยู่บ้านเพียงคนเดียว
-ผู้ป่วยมีประวัติป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ตั้งแต่ต้นเดือน ธ.ค.
-มีโรคประจำตัว คือ ลมชัก รับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
-วันที่ 30 พ.ย.63 ได้รับการทำ CT Scan ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
-วันที่ 21 ม.ค.64 มีอาการจุกแน่น หายใจไม่ออก ญาติโทรเรียก 1669 มารับให้ไปส่งที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า โรงพยาบาล ทำการ CPR และใส่ท่อช่วยหายใจ ต่อมาผู้ป่วยเสียชีวิต
วันที่ 10-20 ม.ค.64 ช่วงกลางวันทุกวัน ผู้ป่วยอยู่บ้านคนเดียว ลูกชายและลูกสะใภ้ ไปทำงานที่ร้านขายวัสดุก่อสร้างแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรสงคราม ผู้ป่วยจะโทรสั่งอาหารจากร้านขายอาหารในหมู่บ้านให้มาส่งในมื้อกลางวัน(โดยส่งที่รั้ว ไม่ได้เข้าไปในบ้าน เนื่องจาก ผู้ป่วยเลี้ยงสุนัขดุ) ผู้ป่วยอยู่บ้านตลอด ไม่สามารถเดินออกไปไหนได้ไกลๆ และไม่ได้ไปพูดคุยกับใคร หรือมีใครแวะมาที่บ้าน
ประวัติครอบครัว
1.อาศัยอยู่กับลูกชายและลูกสะใภ้ ทำงานที่ร้านขายวัสดุก่อสร้างแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรสงคราม ทั้งสองคน ลูกชายอยู่แผนกด้านในจัดสินค้านำส่งลูกค้าแต่ไม่ได้ไป ส่วนลูกสะใภ้อยู่ด้านหน้าเคาท์เตอร์
2.สามีผู้เสียชีวิต มีอาชีพ รับส่งปลาริมถนนหน้าตลาดไทย วันที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาตรวจที่ตลาดไทยได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ผลออกมาเป็นลบ โดยกลับมาบ้านครั้งสุดท้าย วันที่ 24ธ.ค.63- 2ม.ค.64
3.ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวลมชัก และระบบสมอง รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า และคลินิกแห่งหนึ่งใน จ.สมุทรสงคราม เวลาไปโรงพยาบาลหรือคลินิกลูกชายขับรถรับส่ง
4.ลูกชายให้ประวัติว่าก่อนหน้านี้ 14 วันไม่มีใครเข้ามาที่บ้าน
5.ช่วงหลังๆผู้ป่วยมีอาการหลงลืม เลยมีการทานยาผิดๆถูกๆ เพราะลูกชายและลูกสะใภ้ไปทำงานกลับมาบ้านตอนเย็น
**ผู้สัมผัสใกล้ชิดที่บ้านและบ้านญาติ จำนวน 2 คน ไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จำนวน 2 คน ในวันที่ 24 ม.ค.64 รอผล
**สำหรับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 ขอให้มารับการตรวจหาเชื้อได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มอีก 2 คน
1.รายที่ 43 ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 51 ปี พนักงานบริษัทผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ต.บางขันแตก อ.เมือง
บ้านอยู่ที่หมู่ 4 ต.ยี่สาร อ.อัมพวา
-วันที่ 20-21 ม.ค.64 พักอยู่บ้าน เนื่องจากทราบข่าวว่ามีคนในแผนกป่วยติดเชื้อโควิด-19
-วันที่ 22ม.ค.64 เข้ารับการตรวจหาเชื้อ เนื่องจาก เริ่มเจ็บคอ คัดจมูก ไอ จมูกได้กลิ่นน้อยลง ตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค.64
-วันที่ 23 ม.ค.64 ได้รับแจ้งว่าติดเชื้อ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
2.รายที่ 44 ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 19 ปี พนักงานบริษัทผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ต.บางขันแตก อ.เมือง
บ้านอยู่ที่ ต.แหลมใหญ่ อ.เมือง
-วันที่ 21 ม.ค.64 หยุดอยู่บ้าน เนื่องจาก ทราบว่าหัวหน้าแผนกไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่กรุงเทพฯแล้วตรวจพบเชื้อ และนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ
-วันที่ 22 ม.ค.64ไปตรวจหาเชื้อ เดินทางด้วยรถเมล์สายบางตะบูน (มีผู้โดยสาร 3 คน) นั่งห่างกัน สวมหน้ากากอนามัย ตรวจเสร็จก่อนกลับบ้านได้ไปซื้อก๋วยจั๊บ ร้านตรงทางรถไฟ ฝั่งตรงข้ามธนาคารแห่งหนึ่ง จากนั้นนั่งรถเมล์สายบางตะบูน กลับบ้าน(สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา)
-วันที่ 23 ม.ค. 64 ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าว่าติดเชื้อ รถโรงพยาบาลมารับตัวไปรักษา
CR:ศูนย์โควิด-19 จ.สมุทรสงคราม,สำนักงานประชาสัมพันธ์ จ.สมุทรสงคราม