ตามที่มีข้อเสนอให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดการเลือกตั้งแทน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แต่ก็มีข้อทักท้วงว่า ทั้ง 2 หน่วยงานเป็นหน่วยงานราชการ “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 1,247 คน สรุปผลได้ ดังนี้
เมื่อถามว่าปัญหาการเลือกตั้งที่ผ่านมาที่ทำให้ประชาชนหนักใจ คือ
อันดับ 1 การจัดการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใส ไม่เป็นกลาง มีการซื้อสิทธิขายเสียงร้อยละ 45.41
อันดับ 2 ประชาชนเบื่อหน่ายการเมือง ไม่สนใจการเลือกตั้งร้อยละ 33.56
อันดับ 3 มีความขัดแย้ง ทะเลาะเบาะแว้ง ประท้วงไม่ยอมรับการเลือกตั้งร้อยละ 21.03
เมื่อถามว่า ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่? ที่จะให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้จัดการเลือกตั้งแทน กกต.
อันดับ 1 ไม่เห็นด้วยร้อยละ 62.25 เพราะ ควรให้เป็นหน้าที่ของ กกต.ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง การเลือกตั้งเป็นงานใหญ่และมีความสำคัญ ฯลฯ
อันดับ 2 เห็นด้วยร้อยละ 37.75 เพราะ น่าจะเป็นเรื่องดี หากมีการร่วมมือกัน มีความน่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ ฯลฯ
เมื่อถามถึง “ข้อดี-ข้อเสีย” ของการให้ “กระทรวงมหาดไทย”และ “กระทรวงศึกษาธิการ” เป็นผู้จัดการเลือกตั้ง
ข้อดี
1 เป็นระบบระเบียบมากขึ้น เจ้าหน้าที่เพียงพอร้อยละ 47.80
2 เป็นการร่วมมือที่ดี มีความใกล้ชิดประชาชนร้อยละ 29.67
3 เป็นทางเลือกใหม่ อาจป้องกันการทุจริตได้ร้อยละ 22.53
ข้อเสีย
1 ไม่เป็นอิสระ อาจถูกแทรกแซง ตรวจสอบยากร้อยละ 41.34
2 เป็นการเพิ่มภาระงาน กระทบต่องานหลักร้อยละ 35.04
3 ขาดประสบการณ์ ไม่มีความชำนาญพอร้อยละ 23.62
เมื่อถามว่าโดยสรุป ประชาชนคิดว่าใคร? ควรเป็นเจ้าภาพในการจัดการเลือกตั้ง
อันดับ 1 กกต. (แบบเดิม) ร้อยละ 66.67 เพราะ มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ รู้ปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ฯลฯ
อันดับ 2 กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการร้อยละ 17.01 เพราะ เป็นการสร้างความร่วมมือกัน ช่วยกันดูแล เป็นระบบและตรวจสอบได้ ฯลฯ
อันดับ 3 กระทรวงมหาดไทยร้อยละ 7.82 เพราะ มีหน่วยงานทั่วประเทศ เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองโดยตรง เคยจัดการเลือกตั้งของท้องถิ่น ฯลฯ
อันดับ 4 กระทรวงศึกษาธิการร้อยละ 4.42 เพราะ มีบุคลากรจำนวนมาก มีสถานศึกษาในเขตพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ มีความน่าเชื่อถือ ฯลฯ
อันดับ 5 ควรจะร่วมมือกันทุกภาคส่วน ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษา และ กกต. ร้อยละ 4.08
...