หนี้ครัวเรือน พุ่ง 80.1% สูงสุดในรอบ 4 ปี คาดครึ่งหลังปีหน้าถึงจะฟื้นตัว
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (
อย่างไรก็ตาม มองว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ถือว่าได้ผ่านจุดต่ำสุด และจะเริ่มฟื้นตัวไตรมาส 3 และ 4 ส่วนจะฟื้นตัวได้เร็วมากน้อยเท่าใด ขึ้นอยู่กับการพัฒนาวัคซีน ซึ่งหากเป็นไปตามคาดจะมีวัคซีนออกมาใช้รักษาคนได้ภายในกลางปี 2564 ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นชัดเจนช่วงครึ่งปีหลังปี 2564 ตอนนี้จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการต่างๆ เพื่อประคองเศรษฐกิจ ทั้งการใช้จ่ายภาครัฐ การสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ การออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของกลุ่มผู้ที่ยังมีกำลังซื้ออยู่ เชื่อว่ายังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังมีกำลังซื้อ สะท้อนได้จากยอดจองรถยนต์รุ่นใหม่ที่มีมากกว่า 6,000 คัน
ก.คลัง ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้
นายปรีดี ดาวฉาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า จากนี้การดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวควบคู่กับการรักษาระดับหนี้สาธารณะให้อยู่ภายใต้กรอบวินัยการคลังที่ร้อยละ 60 ต่อ
CR:กระทรวงการคลัง
ตรวจหาเชื้อคนในครอบครัว-กลุ่มเสี่ยงสูงที่ใกล้ชิดชายชาวมาเลย์
การติดตามสอบสวนหาเชื้อ กรณีชายชาวกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย อายุ 46 ปี ออกจากประเทศไทยไปกรุงกัวลาลัมเปอร์ และระบุว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า
-เมื่อวันที่ 5 ส.ค. ชายคนดังกล่าวเดินทางออกจากไทยไปกรุงกัวลาลัมเปอร์ ไม่มีอาการป่วย ตรวจหาเชื้อครั้งแรกไม่พบ
-ต่อมาวันที่ 15 ส.ค. ตรวจหาเชื้อครั้งที่ 2 ด้วยวิธี RT-PCR ผลตรวจพบเชื้อ
ชายคนดังกล่าว พักที่คอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในกทม.หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรค และ สำนักอนามัย กทม.ลงพื้นที่ค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดและตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว การตรวจหาเชื้อจะตรวจบุคคลเสี่ยงสูงก่อนคือ คนในครอบครัว และขยายผลไปยังกลุ่มอื่น โดยผู้อาศัยร่วมกันในคอนโดฯ แทบไม่มีความเสี่ยง อย่างที่เคยบอกว่าผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำมีโอกาสติดเชื้อไม่ถึงร้อยละ 1 และหากทุกคนสวมหน้ากากอนามัยจะป้องกันเชื้อได้ถึงร้อยละ 97 และถ้าผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัยด้วยจะเสี่ยงแพร่เชื้อน้อยมาก เราไม่ได้หาว่าเขาแพร่เชื้อให้ใคร แต่เราจะหาว่าเขาติดเชื้อจากใคร เพราะก่อนออกจากไทยก็ตรวจไม่พบเชื้อ
ด่านเบตง จ.ยะลา ยกระดับตรวจเข้มคนมาจากมาเลย์
บรรยากาศการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับมาเลเซีย ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ประจำด่านพรมแดนอำเภอเบตง จ.ยะลา ติดต่อกับฝั่งมาเลเซีย ด่านบูกิตบือราปิตรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ยกระดับความเข้มในการตรวจสแกนควบคุมโรคคนไทยที่เดินทางมาจากมาเลเซีย ต้องผ่านการตรวจโรคอย่างละเอียด หลังพบการระบาดรอบใหม่ในมาเลเซีย โดยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ กระจายอยู่ในรัฐ เคด้า เปอร์ลิส PulauPinong (พูเลา ปีนัง) ติดชายแดนไทย และยังมีช่องทางธรรมชาติ ที่สามารถลักลอบเข้าประเทศไทยได้ ทางการมาเลเซีย ประกาศล็อคดาวน์เฉพาะพื้นที่ที่พบการระบาดแทนการปิดพรมแดนระหว่างรัฐ ขณะที่ ไทยวางแนวทางป้องกัน รถขนส่งสินค้าจากมาเลเซียเข้ามาไทย ตลอดจนสกัดกั้นป้องกันแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมือง ผ่านช่องทางตามแนวชายแดน ซึ่งมักจะมีกลุ่มนายหน้าทั้งฝั่งไทยและมาเลเซียลอบนำเข้ามา
คมนาคม รับปาก 7 สายการบิน ช่วยเหลือเยียวยา ขอปลดล็อกขายอาหารบนเครื่อง
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ตัวแทน 7 สายการบินสัญชาติไทย ประกอบด้วย สายการบินไทยสมายล์, ไทยแอร์เอเชีย, ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์, นกแอร์, บางกอกแอร์เวย์ส, ไทยเวียตเจ็ท, และไทยไลอ้อนแอร์ ได้เข้าพบ เพื่อขอให้กระทรวงคมนาคมช่วยติดตามความคืบหน้าการขอให้รัฐบาลช่วยเยียวยาผู้ประกอบการสายการบิน หลังจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลายเรื่องเช่น
-การขอกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) กระทรวงการคลัง มอบหมายให้ธนาคารออมสินเป็นผู้ดำเนินการแล้ว แต่ติดปัญหาการประเมินเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกัน อาจจะหารือกับกระทรวงการคลังอีกครั้งว่าจะสามารถใช้วิธีเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นทุนด้วยการนำใบอนุญาตประกอบการกิจการค้าขายในการเดินอากาศใหม่(เอโอแอล) ซึ่งเป็นใบอนุญาตที่ได้รับจาก กพท.แปลงเป็นทุนได้หรือไม่ เพราะถือเป็นใบสำคัญที่สามารถนำมาหารายได้ และนำไปเช่าซื้อเครื่องบินได้
-การขอขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน จาก 4.726 บาท/ลิตร เหลือ 0.20 บาท/ลิตร ซึ่งจะสิ้นสุดสิ้นเดือน ก.ย.นี้
-ขยายเวลาการลดค่าบริการในการขึ้นลงของอากาศยาน(Landing) และค่าบริการที่เก็บอากาศยาน (Parking) ในอัตราร้อยละ 50 ซึ่งจะสิ้นสุดเดือน ธ.ค.นี้ออกไปอีก
-ปลดล็อกให้ผู้ประกอบการสายการบินสามารถจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่มบนเครื่องบินได้ตามปกติ
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า จะนำข้อเสนอต่างๆ ของผู้ประกอบการสายการบินเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณาในวันพรุ่งนี้
ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กพท.) กล่าวว่า การห้ามจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่มบนเครื่องบินที่ทำการบินต่ำกว่า 4 ชั่วโมง เป็นไปตามระเบียบขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอเคโอ) หลังจากนี้จะนำเรื่องการเปิดให้สายการบินสามารถขายอาหาร และเครื่องดื่มบนเครื่องบินไปหารือกับสายการบิน และ กระทรวงสาธารณสุขก่อน หากไม่มีปัญหาอะไร คาดว่า จะยกเลิกประกาศ กพท.ฉบับเก่า และออกประกาศ กพท.ฉบับใหม่ โดยให้สายการบินเปิดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มได้ เฉพาะสายการบินที่ทำการบินภายในประเทศเท่านั้น เบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.นี้ เป็นต้นไป