*รัฐบาล จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ นำร่อง10จังหวัด*

06 พฤศจิกายน 2557, 14:10น.


ภายหลังการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) ครั้งที่ 1/2557  นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง9หน่วยงาน เข้ารับทราบการปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป.ป.ส. โดยนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ(ศอ.ปส.) เพื่อเป็นองค์กรอำนวยการแก้ปัญหายาเสพติดตามยุทธศาสตร์5ปี(พ.ศ.2558-2562) นำร่อง10จังหวัด มี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการและผู้อำนวยการ นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต เลขาธิการ ปปส. เป็นกรรมการและเลขานุการ และมีหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการศอ.ปส.



ด้านนายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต รายงานสถานการณ์ยาเสพติดและผลการดำเนินงานในรอบปีงบประมาณ2557 (1ต.ค.2556-30ก.ย.2557) แบ่งเป็น7แผนงาน ประกอบด้วย แผนงานที่1 การสร้างพลังสังคมและพลังชุมชนเอาชนะยาเสพติด ดำเนินการจำนวน 76,739 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 93.76 จากเป้าหมายแผนงานที่2 การแก้ปัญหาผู้เสพ มีผู้เข้ารับการบำบัดจำนวน 303,501 คน สูงกว่าเป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 101.17แผนงานที่3 การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด ดำเนินการสร้างภูมิคุ้มกันในสถานศึกษาจำนวน 10,811แห่ง มีเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6 จำนวน 1,919.951 คน สูงกว่าเป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 100.12 แผนงานที่4 การปราบปรามยาเสพติด จับกุมคดียาเสพติดได้ 347,028 คดี ผู้ต้องหา 365,918 คน ยึดของกลางยาบ้า 96,155,912 เม็ด เฮโรอีน 497.30 กก. ไอซ์ 1,073.60 กก. และกัญชา 28,104.54 กก.แผนงานที่5 ความร่วมมือระหว่างประเทศ พัฒนาความร่วมมือชายแดน 20 แห่ง ใน 14 จังหวัด แผนงานที่6 การสกัดกั้นยาเสพติด กำหนดเป้าหมายไว้ร้อยละ50 ของการจับกุมทั่วประเทศและแผนงานที่7 การบริหารงานแบบบูรณาการ เบิกจ่ายงบประมาณแล้ว 7,750,741,564 บาท คิดเป็นร้อยละ74.73 และดำเนินการยกร่างแก้ไขกฏหมายเพิ่มเติมจำนวน 11 ฉบับทั้งนี้พบว่าผลการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนพอใจผลการดำเนินงานยาเสพติดในช่วงปลายปีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เข้ามาดูแล อยู่ที่ร้อยละ91.42 สูงกว่าการประเมินในช่วงต้นปีงบประมาณ ที่ความพึงพอใจของประชาชนอยู่ที่ร้อยละ75.0



อภิสุข

ข่าวทั้งหมด

X