นักวิทยาศาสตร์ระบุ เหตุภัยพิบัติที่อินโดนีเซียเป็นเหตุการณ์ที่ป้องกันได้ยาก

05 ตุลาคม 2561, 07:18น.


จากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิที่เมืองปาลู เกาะสุลาเวสี อินโดนีเซียเมื่อวันที่ 28 กันยายน ซึ่งพบผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 1,400 คน ขณะที่ผู้รอดชีวิตต่างเล่าถึงการเคลื่อนที่ของผืนดินคล้ายกับคลื่นซึ่งเป็นเหตุให้อาคารบ้านเรือนทรุดตัวพังราบเป็นบริเวณกว้าง นายซูโตโป เปอร์โว นูโกรโฮ โฆษกสำนักงานบรรเทาภัยพิบัติแห่งชาติของอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า หลังจากแผ่นดินไหว ผืนดินกลายเป็นโคลนเหลว ทำให้อาคารบ้านเรือนขยับตัวแล้วทรุดพัง โดยชุมชนบาลาโรอา และเปโตโปที่อยู่นอกเมืองปาลูถึงกับจมหายไปในหลุมยุบทั้งชุมชน กลายเป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถอาศัยได้



นายคอสตาส ซีโนลากิส ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสึนามิแห่งมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย เปิดเผยกับเอเอฟพีว่า ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกที่เป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ไม่ได้เป็นสาเหตุของสึนามิ แต่เป็นเพราะการเคลื่อนที่ของคลื่นในอ่าวปาลูที่มีลักษณะแคบทำให้คลื่นเพิ่มความสูงมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ฝั่ง ซึ่งเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นได้ยาก นอกจากนี้ เหตุแผ่นดินไหวที่ส่งผลทำให้ผืนดินอ่อนตัวและเคลื่อนที่ได้เหมือนของเหลว จะเกิดขึ้นในบริเวณผืนดินที่ชุ่มน้ำและมีส่วนประกอบของเม็ดทราย หรือพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวปนตะกอนทราย ซึ่งนายโยชิมิชิ ซึกาโมโต จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์โตเกียว เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า ปรากฏการณ์แผ่นดินเหลวเคยเกิดขึ้นที่พื้นที่ราบลุ่มและใกล้ชายฝั่งทะเล หรือพื้นที่ที่ได้มาจากการถมทะเล ซึ่งเคยเกิดขึ้นในนิวซีแลนด์ ชิลี และญี่ปุ่น



นายเอสเธอร์ นอร์ตัน นักวิจัยปรากฏการณ์แผ่นดินเหลว จากมหาวิทยาลัยแองเกลียรัสกิน ในสหราชอาณาจักร เปิดเผยว่า ไม่ว่าอาคารสิ่งปลูกสร้างจะแข็งแรงขนาดไหน แต่หากเผชิญกับปรากฏการณ์แผ่นดินเหลว ก็สามารถทรุดพังลงมาได้



...



F163

ข่าวทั้งหมด

X