การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) ในการจัดงานมหกรรมรวมพลังคนกรุงเทพฯ เอาชนะยาเสพติดเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก โดยมีนายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดงาน พร้อมกล่าวว่า ในวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก ประชาคมโลกล้วนให้ความสำคัญ ร่วมกันรณรงค์ต่อต้านปัญหายาเสพติด เช่นเดียวกับพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่น จากรายงานสถานการณ์ปัญหายาเสพติดและแนวโน้มในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า กรุงเทพมหานครยังเป็นพื้นที่การค้า พักเก็บและลำเลียงยาเสพติดไปยังพื้นที่อื่น ในปริมาณยาบ้า 100,000 เม็ดขึ้นไปและไอซ์ 10 กิโลกรัมขึ้นไป ส่วนใหญ่มาจากทางภาคเหนือ โดยนำมาพักรอคอย ส่งมอบในเขตปริมณฑล หลังจากนั้นจะลำเลียงต่อทางรถยนต์ส่งกลุ่มเครือข่าย
ขณะที่ การดำเนินงานนโยบายกรุงเทพมหานคร เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร และศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเขตครอบคลุม 50 เขต ดำเนินงานตามแผนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ รวมถึงป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE ที่เน้นการสร้างความภาคภูมิใจ และความเข้มแข็งทางจิตใจให้แก่เด็กและเยาวชน ใน 4 พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สถานศึกษา ชุมชนและสถานประกอบการ
ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 626 ชุมชน นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งศูนย์คัดกรองผู้เสพยาเสพติด และศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกรุงเทพมหานคร เพื่อฟื้นฟูผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด ร่วมกับการให้บริการด้านการบำบัดรักษาผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดโดยศูนย์บริการสาธารณสุขคลินิกบำบัดยาเสพติด และสถานพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ยอมรับว่า การทำให้ปัญหายาเสพติดเป็นศูนย์ไม่ใช่เรื่องง่าย แม้เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา แต่การแก้ไขปัญหา ทั้งการป้องกัน ปราบปราม บำบัด รวมถึงฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติด จะทำให้ปัญหายาเสพติดลดหรือมีน้อยลง สิ่งสำคัญต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน
ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม พบว่า ตัวยาที่พบการแพร่ระบาดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มากที่สุด ได้แก่ ยาบ้าและไอซ์ ร้อยละ 100 รองลงมาคือกัญชา คีตามีน หรือยาเค และกระท่อม ร้อยละ 70 สารระเหยและเอ็คตาซี ร้อยละ 40
ขณะเดียวกันในวันนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบรางวัลแก่หน่วยงานและผู้มีผลงานดีเด่นด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรุงเทพมหานคร โดยชุมชนรวมใจระวังภัยยาเสพติด ดีเด่นรางวัลชนะเลิศได้แก่ ชุมชนริมคลองหัวหมากน้อย เขตบางกะปิ ประเภทรักษามาตรฐานรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ชุมชนวัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อย อาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดประเภทดีเด่น รางวัลชนะเลิศ ได้แก่กลุ่มอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดเขตคลองสามวา
หน่วยงานที่ได้รับรางวัลผลงานดีเด่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของกรุงเทพมหานครประเภทสำนักงานดีเด่นได้แก่ สำนักงานเขตดอนเมือง เขตบางขุนเทียนเขตบึงกุ่ม เขตวัฒนา เขตสวนหลวง เขตสะพานสูง เขตสาทร เขตหลักสี่ ประเภทศูนย์บริการสาธารณสุขดีเด่นด้านการบำบัดรักษาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดได้แก่ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วงนุชเนตร และศูนย์บริการสาธารณสุข 43 มีนบุรี ด้านการป้องกันการติดยาเสพติด ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 48 นาควัชระอุทิศ และศูนย์บริการสาธารณสุข 51 วัดไผ่ตัน
ผู้สื่อข่าว:เกตุกนก ครองคุ้ม