นักวิชาการ มองว่า สหรัฐฯควรถอยบ้าง ให้เกาหลีเหนือมั่นใจเรื่องความมั่นคง

12 มิถุนายน 2561, 09:43น.


การติดตามการหารือครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ กับนายคิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ที่ประเทศสิงค์โปร์ ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันศึกษาความมั่งคง และนานาชาติ (isis)คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่า ทั้งประธานาธิบดี ทรัมป์ กับนายคิม ต่างมีเงื่อนไข การที่สหรัฐฯ ต้องการให้เกาหลีเหนือปลดอาวุธ ไม่สามารถทำได้ทันที เพราะถ้าทำจะทำให้เกาหลีเหนือไม่มีความมั่นคง จะต้องพิจารณาเรื่องกรอบเวลา โรดแมป เพราะเกาหลีเหลือมองว่าเกาหลีใต้ กับสหรัฐฯมีความร่วมมือกัน สหรัฐฯ ต้องมีการถอยหลังออกไปด้วย เพราะสหรัฐฯยังมีการซ้อมรบกับเกาหลีใต้ มีฐานทัพอยู่ในเกาหลีใต้ รวมทั้งที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย  ทำให้เกาหลีเหนือเหมือนโดยปิดล้อม ถ้ามีการยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ จะทำให้ไม่มีอะไรไปสู้ได้ ถึงแม้จะมีจีนเป็นพี่ใหญ่ คอยหนุนหลัง  สำหรับการประชุมส่วนตัว  มองว่าไม่น่าจะมีประเด็นพิเศษ เป็นการตกลงกันมากกว่า เพราะเป็นการตกลงกันมาก่อนหน้านี้แล้ว คาดว่า การหารือน่าจะราบรื่นเป็นไปด้วยดี ไม่น่าจะเหมือนการประชุมกลุ่มจี7 เพราะจี7เป็นการบังคับให้ประธานาธิบดีทรัมป์ต้องเดินทางไป แต่การเจรจากับเกาหลีเหนือ ประธานาธิบดีทรัมป์ เป็นคนเลือกเอง เดิมพันไว้สูงมาก มีการปูทางไว้ค่อนข้างแน่นแฟ้น  ถ้าจะมีการตุกติก  น่าจะเป็นเรื่องที่พูดจาไม่เข้าหู  ซึ่งคะแนนเสียงของประธานาธิบดีทรัมป์ ลดน้อยลงมาก  อะไรที่เป็นระเบียบกติกาจะไม่ค่อยชอบ  


สำหรับนายคิม ที่ใช้เวลาเมื่อคืนนี้ไปท่องเที่ยวถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี เนื่องจากเกาหลีเหนือเป็นประเทศปิด ไม่ได้มีโอกาสได้รู้จักนิสัยใจคอ ภาพที่ออกมาเมื่อคืนนี้เลยดูเป็นมิตร


จากภาพรวมของเกาหลีเหนือ ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจ สังคม ของเกาหลีเหนือไม่ค่อยดีพอออกมาพบโลกภายนอกก็กลายเป็นยิ้มแย้ม  การหารือครั้งนี้ นายคิม หงายไพ่หลายใบมาก เพราะต้องการยอมรับจากชาวโลก และต้องการเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งค่อนข้างแน่ใจว่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดี ซึ่งก่อนหน้านี้พ่อของนายคิม เคยทำมาแล้วแต่ล้มเหลว สิ่งที่ต้องดูเรื่องหลักๆ  คือโรดแมป ใครได้ใครเสีย  ยื่นหมู ยื่นแมว กัน


 


 ...


จส.100


แฟ้มภาพ 


 
ข่าวทั้งหมด

X