หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี นายกอปศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยโฆษกประจำสักนายารัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณ 1,841.1 ล้านบาท ในโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิตพ.ศ. 2560 เพื่อช่วยบริหารจัดการความเสี่ยงในภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรตลอดจนภัยศัตรูพืชโรคระบาดซึ่งจะมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยพื้นที่รับประกันภัยในปี 2560 นี้ขั้นต่ำคือ 25 ล้านไร่ ถึง 30 ล้านไร่ จากเดิมพื้นที่เป้าหมายมี 30 ล้านไร่ วงเงินคุ้มครอง เพิ่มขึ้นจาก 1,111 บาทต่อไร่ สำหรับภัยธรรมชาติ 6 ภัย ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ลมพายุ ภัยอากาศหนาวลูกเห็บและไฟไหม้ เป็น 1,260 บาทต่อไร่ส่วนภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดจาก 555 บาทต่อไร เป็น 630 บาทต่อไร่ ด้านอัตราค่าเบี้ยประกันภัยจากเดิมในปี 2559 คิดอัตรา 107.428 บาทต่อไร่ รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์ เหลือ 97.37 บาทต่อไร่ รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรแสตมป์หรือคิดเป็นอัตราดอกเบี้ยประกันภัยรถรวมร้อยละ 10
ส่วนการอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยของรัฐบาล จะมีการอุดหนุน 61.3 7 บาทต่อไร่ รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมที่เอาเบี้ยประกัน 25 ล้านไร่แรกอุดหนุน 67 จุด 428 บาทต่อไร่ และเกินกว่า 25 ล้านไร่ ขึ้นไปอุดหนุน 38.0 7 บาทต่อไร่ การอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) จาก 40 บาทต่อไร่สำหรับเกษตรกรที่เป็นลูกค้าสินเชื่อของธนาคาร เป็น 36 บาทต่อไร่ ด้านระยะเวลาการขายประกันจะขยายออกจาก ในปีที่เริ่มฤดูกาลเพาะปลูก ไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ยกเว้นพื้นที่ในภาคใต้ที่จะไปจนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2560 ส่วนการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนในโครงการของปี 2560 นี้ จะมีการนำนวัตกรรมใหม่เพิ่มเข้ามาโดยสามารถจ่ายผ่านทางพร้อมเพย์ได้
นอกจากนี้กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบดูแลเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ แต่ไม่ได้ถูกประกาศอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย ให้ได้รับค่าเสียหายเช่นกัน นอกจากนี้ทางกระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะดำเนินการขยายผลโครงการประกันภัยนี้ ไปยังข้าวนาปรังและพืชผลชนิดอื่นๆด้วย นอกจากนี้คณะรัฐมนตรียังอนุมัติรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2560 ครั้งที่ 2 หลังจากเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 ได้มีการพิจารณากลั่นกรองโครงการรวมทั้งสิ้น 28 โครงการในวงเงิน 3,828 ล้านบาทเช่น โครงการศูนย์กระจายสินค้าเกษตรกรไทยภาคตะวันออก โครงการดูแลบึงบ่อน้ำต่างๆ โครงการพัฒนาเมืองเก่าเพื่อท่องเที่ยว รวมถึงอนุมัติงบประมาณให้กับ 3 มหาวิทยาลัยในการดำเนินกิจการของโครงการ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วงเงิน 450 ล้านบาท โครงการเกษตรอาหารเทคโนโลยีชีวภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วงเงิน 235 ล้านบาท โครงการนวัตกรรมแห่งสยาม และ มหาวิทยาลัยมหิดล 545 ล้านบาท โครงการ นวัตกรรมสุขภาพและสุขภาวะเพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0
ด้านนายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) สัญญาสัมปทานการลงทุนออกแบบก่อสร้างบริหารจัดการให้บริการและบำรุงรักษาโครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครและร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) สัญญาโครงการระบบทางด่วนชั้นที่ 2 โดยปัจจุบันทางด่วนที่มาจากวงแหวนรอบนอก เชื่อมต่อกับ ทางด่วนพิเศษสายศรีรัช บริเวณบางซื่อ ไม่สามารถวิ่งไปทางแจ้งวัฒนะได้ โดยมีประชาชนจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบ ไม่ได้รับความสะดวกสบาย จึงได้มีแนวทางให้ก่อสร้างทางเชื่อมเพิ่มเติม ให้สามารถเดินทางไปเส้นทางแจ้งวัฒนะได้ โดยคาดการณ์ว่าหากสร้างทางเชื่อมนี้ขึ้นแล้ว จะมีรถใช้บริการมากขึ้น เพิ่มรายได้ประมาณวันละร้อยละ 1.77 โดยการก่อสร้างทางเชื่อมครั้งนี้ทางบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BEM จะผู้รับผิดชอบ ในมูลค่าการก่อสร้าง 275 ล้านบาท โดยไม่กระทบกับการเก็บค่าผ่านทางของประชาชน