วันนี้เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิถุนายน ในวันนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข มีพิธีเผาทำลายยาเสพติดให้โทษของกลาง ครั้งที่ 47 ที่ศูนย์บริหารสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นของกลางในคดียาเสพติด 6,546 คดี มีจำนวนทั้งสิ้น 9,321 กิโลกรัม มูลค่ารวมกว่า 20,719 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้ากว่า 7,000 กิโลกรัม รองลงมา ยาไอซ์ 1,185 กิโลกรัม เฮโรอีน 169 กิโลกรัม ฝิ่นดิบ 32 กิโลกรัม

โดยวันนี้มีนพ. ธวัช สุนทราจารย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานในพิธี และมีนพ. วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการ อย. / นายศิรินทร์ยา สิทธิชัย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ทูตานุทูต ผู้บริหารจากทุกส่วนราชการ ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพบก นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ร่วมเป็นสักขีพยาน
.jpg)
ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องยาเสพติดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการปราบปราม การป้องปราม การตรวจจับ รวมทั้งการบำบัดยาเสพติด ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้ประสบผลดีเป็นเลิศ เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจะมีทหารเข้ามาช่วยดำเนินการ ถือเป็นข้อได้เปรียบในการตรวจจับ ส่วนการดูแล บำบัดรักษาผู้ต้องขัง ที่ติดยาเสพติด เป็นไปได้ด้วยดีตามมาตรฐาน และการตรวจจับทำได้เยอะ สำหรับคดีที่เข้าสู่ศาล ศาลจะพยายามเร่งให้ผ่านศาลชั้นต้น ให้คดีสิ้นสุด เพื่อที่จะให้ของกลางทั้งหลายที่ถูกจับไปแล้ว ไม่ต้องกลับไปเป็นวัตถุพยานอีกในศาลอุทรณ์และศาลฎีกา และนำของกลางมาเผาทำลาย
นพ. ธวัช ระบุว่า วันนี้มีการเผาทำลายไป 9,321 กิโลกรัม และยังเหลือของกลางที่คดียังไม่สิ้นสุดอีกอีกประมาณ 5,500 กิโลกรัม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะพยายามเก็บรักษาให้ดีที่สุด ภายใต้คณะกรรมการฯ ไม่ให้ยาเสพติดจำพวกนี้รั่วไหลกลับไปสู่ตลาดการค้า และเข้าสู่สังคมอีก โดยของกลางยาเสพติดที่มาทำลายในวันนี้มีจำนวนมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยมีตัวชี้วัดคือ จำนวนคดีความ และปริมาณยาเสพติด ขณะเดียวกันก็มีผู้บำบัดยาเสพติดที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งมีการบำบัดผู้ติดยาเสพติด ในเรือนจำด้วยไม่ใช่ว่าเข้าไปสู่เรือนจำแล้วจะไม่มียาเสพติด เล็ดลอดเข้าไป
ทั้งนี้ของกลางทั้งหมดจะถูกนำไปเผาทำลายด้วยวิธีไพโรไลติก อินซิเนอะเรชั่น (Pyrolytic Incineration) ที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 850 องศาเซลเซียส จะทำให้เกิดการสลายตัวของโมเลกุลกลายเป็นคาร์บอนในระยะเวลาอันรวดเร็วและไม่ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศและสิ่งแวดล้อม และยาเสพติดที่ถูกเผาไหม้ด้วยความร้อนสูง จะกลายเป็นขี้เถ้า ที่ไม่มีสภาพของสารเสพติดหลงเหลือ
สำหรับปริมาณยาเสพติดให้โทษของกลางที่จะเผาทำลาย ประกอบด้วย เมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า น้ำหนักกว่า 7,886 กิโลกรัม (ประมาณ 87 ล้านเม็ด) มูลค่าประมาณ 17,528 ล้านบาท / ยาไอซ์ น้ำหนักกว่า 1,185 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 2,964 ล้านบาท / เฮโรอีน น้ำหนัดกว่า 169 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 182 ล้านบาท / ฝิ่น น้ำหนักกว่า 32 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 360,000 บาท / โคเดอีน น้ำหนักกว่า 18 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 35,792 บาท / โคคาอีน น้ำหนักกว่า 12 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 38 ล้านบาท รวมทั้งกัญชาและพืชกระท่อม จากกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติดจำนวนกว่า 6853 กิโลกรัมมูลค่ากว่า 54 ล้านบาท
จากสถิติการเผาทำลายยาเสพติดให้โทษของกลางตั้งแต่ปี 2520-2560 ดำเนินการรวม 47 ครั้งน้ำหนักรวมกว่า 122,453 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 183,645 ล้านบาทโดยยาเสพติดของกลางที่เผาทำลายมากที่สุดได้แก่เมทแอมเฟตามีน และแอมเฟตามีน จำนวน 68,707 กิโลกรัมรองลงมาฝิ่นและอื่นๆ 28,558 กิโลกรัมเฮโรอีนจำนวนกว่า 25,018 กิโลกรัม และเอ็คซ์ตาซี่ จำนวนกว่า 168 กิโลกรัม
โดยก่อนหน้าที่จะนำยาเสพติดมาเผา อย. ได้ทำการตรวจสอบยาเสพติดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน โดยยาเสพติดที่นำมาเผาทำลาย เป็นยาเสพติด ในคดีที่สิ้นสุดแล้ว มีการแบ่งแยกประเภทไว้เรียบร้อย และผ่านการเก็บรักษาเป็นอย่างดี โดยกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ ในการเก็บรักษายาเสพติดให้โทษของกลางที่เหลือจากการตรวจพิสูจน์ของสถานตรวจพิสูจน์ต่างๆและดำเนินการกำลัอยากลงสายต่อหน้าสาธารณะชน
...
ผสข.สมจิตร์ พูลสุข