การประชุมสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ (สปท.) เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ตามที่คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชนเสนอมา โดยพล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน ชี้แจงเนื้อหาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวต่อที่ประชุมว่า กมธ.รับฟังความเห็นร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้อย่างรอบด้าน โดย กมธ.ยอมแก้ไขตัดมาตรา 91 และ 92 เรื่องบทลงโทษสื่อมวลชนที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนทิ้งไปตามข้อห่วงใยของสื่อมวลชน เป็นใบรับรองที่จะให้องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนเป็นผู้ออกใบรับรองให้ ส่วนคำนิยาม “สื่อมวลชน” ตามร่างกฎหมายฉบับนี้จะครอบคลุมไปถึงสื่อออนไลน์ เจ้าของเพจที่มีแฟนเพจติดตามเป็นหมื่นๆ คนด้วย เพราะกลุ่มเหล่านี้ถือเป็นทั้งนักข่าว และบรรณาธิการ แต่ไม่มีสังกัด แม้จะอ้างว่าไม่มีรายได้เป็นค่าตอบแทนโดยตรงจากงานที่ทำ แต่มีรายได้ทางอ้อมเกิดขึ้นจากรายได้โฆษณาออนไลน์ จากนั้นที่ประชุมได้เปิดให้สมาชิกอภิปรายโดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปฏิรูปสื่อแต่ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาการปฏิรูปสื่อ เพราะเกรงว่าจะทำให้สื่อขาดอิสระในการทำงานและถูกแทรกแซงจากภาครัฐ จึงอยากให้มีการทบทวนเนื้อหาให้มีความเหมาะสมเป็นที่ยอมรับและไม่ขัดต่อ
นายอลงกรณ์ ได้เสนอว่าหากร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวผ่านความเห็นชอบ ที่ประชุมสปท.ควรตั้งคณะกรรมาธิการชุดพิเศษ ที่มีสมาชิกสปท. คนอื่นๆไปร่วมเป็นกรรมาธิการกับกมธ.สื่อฯ เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาในประเด็นที่ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ จากนั้นเป็นการลงมติ เห็นชอบ ด้วยคะแนน 141ต่อ 13 งดออกเสียง 17 จากนั้นที่ประชุมหารือว่าจะให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการชุดพิเศษ หรือไม่ โดยที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วยให้มีการตั้งคณะกรรมการฯ 88 ต่อ 67 งดออกเสียง 8 ทำให้ที่ประชุมส่งรายงานกลับให้คณะกรรมาธิการสื่อ ฯพิจารณาปรับปรุงก่อนส่งให้ประธานสปท. เพื่อส่งให้ครม.ต่อไป โดยทีป่ระชุมสปท.ใช้เวลาการพิจารณาเกือบ 8 ชั่วโมง