นักวิชาการมองสงครามกลางเมืองในซีเรีย เป็นสนามประลองกำลังชาติมหาอำนาจ
3373
https://www.js100.com/en/site/news/view/39741
COPY
22 เมษายน 2560, 20:01น.
การสนทนาเรื่องความขัดแย้งในซีเรียและปัญหาการลี้ภัย ที่หอศิลปวัฒธรรมกรุงเทพมหานคร ดร.ศราวุฒิ อารีย์ รองผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่ากรณีของความขัดแย่งในซีเรีย เริ่มจากวิกฤติการภายในประเทศที่ประชาชนลุกขึ้นมาต่อต้านทำให้รัฐบาลกลายเป็นรัฐล้มเหลว ประกอบกับหลังสงครามโค่นล้มซัดดัม ฮุสเซ็น ในอิรักเป็นตัวกำหนด ทำให้อิทธิพลอิหร่านเพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายอิทธิพลต่อรองกับสหรัฐ ขณะเดีบวกันซาอุดิอาระเบียก็มีความหวาดระแวงในอำนาจของอิหร่าน จึงมีการใช้ซีเรียเป็นสนามในการต่อสู้ โดยประเทศมหาอำนาจส่งอาวุธผ่านตัวแทนของตัวเอง โดยนับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจโลก สหรัฐอเมริกาเกิดความไม่มั่นใจในการเป็นมหาอำนาจ ขณะที่ จีน รัฐเซีย ก็ผงาดขึ้นมา นับว่าเป็นการเปลี่ยนผ่านจากขั้วอำนาจเดียวเป็นหลายขั้ว ซึ่งมีซีเรียเป็นสนามในการต่อสู้ ดังนั้นมองว่าตราบใดที่มีประเทศมหาอำนาจเข้ามายุ่งเกี่ยว ในซีเรียก็ไม่มีวันสงบ
ส่วนกรณีกลุ่มก่อการร้ายไอเอส ดร.ศราวุธ กล่าวว่า เป้นการพัฒนาหลังสงครามอีรัก เมื่อเกิดรัฐอ่อนเอไอเอสจึงไปตังฐานที่ตั้ง แต่มีการตั้งข้อสังเกตเช่นกันว่ากลุ่มดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกับสหรัฐอเมริกา เพื่อสร้างความวุ่นวายในตะวันออกกลางเพื่อที่เกิดการแย่งแยกในดินแดนต่างๆ แต่ทั้งนี้ก็ไม่สามารถตอบได้ว่าไอเอสมีความเขื่อมโยงกับมผสอำนาจหรือไม่
อย่างไรก็ตามส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการใช้เหตุรุนแรง แต่การเคลื่อนไหวใยสันติวิธีคงเป็นไปได้ยากเพราะทุกฝ่ายจับอาวุธต่อสู้
ดร.ศราวุธ มองทางออกในเรื่องนี้ด้วยว่าซีเรียต้องการหารเปบี่ยนผ่าน มีการสถาปนารัฐบาลเข็มแข็ง และมีความชอบธรรมทางการเมือง หากรัฐบาลเข้มแข็ง ป้องกันการแทรกแซงจาภายนอก เมื่อมีรัฐบาลเข้มแข็งจะไม่เกิดปัญหาวุ่นวายตามมา
นอกจากนี้ยังเปรียบความขัดแย้งในซีเนียและไทยว่ามีความแตกต่างกัน ประกอบกับบรรยากาศในภาพรวมของภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีความคล้ายคลึงกัน เมื่อมีความขัดแย้งก็จะเชื่อมโยงถึงกันได้ง่าย ซึ่งแตกต่างจากไทยบรรยากาศข้างนอกไม่เข้ามากระทบไทยได้ง่ายๆ
อย่างไรก็ตามมองว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นบทเรียนคือ ประชาชนต้องไม่จับอาวุธขึ้นต่อสู้ เพราะความรุนแรงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยความรุนแรง
ดร.งามศุกร์ รัตนเสถียร อาจารย์สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่า กล่าวว่าหลังจากเกิดความขัดแย้งในซีเรีย มีผู้เสียชีวิตแล้ว 2.5 แสน คน มีผู้อพยพกว่า 11 ล้าน และมีชาวซีเรียที่อยู่ในไทยหลายร้อยคน พร้อมมองว่าสิ่งที่เป็นบทเรียนคือว่ารัฐบาลเป็นสนับสนุนให้เกิดความรุนแรง ดังนั้นรัฐควรรับฟังประชาชน เพราะไม่มีใครอยากใช้ความรุนแรงถ้าความยุติธรรมไม่ได้รับความตอบสนอง พร้อมมองว่าสงครามกลางเมืองอาจไม่เกิดในไทย แต่หากรัฐไม่ให้สิทธิเสรีภาพ การแสดงออกทางความคิด เปิดให้มีการโต้แย้งด้วยสันติวิธีและการพูดคุยก็จะเป็นจุดที่นำไปสู่การใช้ความรุนแรงได้
ข่าวทั้งหมด