การหาสาเหตุปลากระเบนน้ำจืด หรือ ปลาราหู สัตว์คุ้มครองตายในแม่น้ำแม่กลองพื้นที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม นายกอบศักดิ์ เกตุเหมือน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสงคราม เปิดเผยว่า ปลากระเบนที่ตายมีทั้งหมด 16 ตัว เมื่อคืน 20.00น.เจอปลากระเบน ยังไม่ตาย เจ้าหน้าที่นำขึ้นรีบนำขึ้นฝั่ง
นายคันฉัตร ตันเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ให้ข้อมูลว่า ถึงตอนนี้พบปลากระเบนตายทั้งหมด 16 ตัว ส่วนตัวล่าสุดเมื่อคืนมีการประสานงานมาจาก ต.นาโคก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นรอยต่อ จ.สมุทรสงคราม ว่าพบปลากระเบน จมโคลนอยู่เจ้าหน้าที่ก็ช่วยเหลือนำปลาไปดูแลต่อที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสงคราม ปลาที่พบล่าสุด กว้าง 2 เมตร หนัก 100 กิโลกรัม รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำและอาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาช่วยเหลือและฉีดยาช่วยเหลือไว้ก่อน
ปลากระเบนที่ตายตัวแรกพบเมื่อวันที่ 25 ก.ย.2559 ปลากระเบนไปติดเครื่องมือหาปลาชาวบ้าน สาเหตุเบื้องต้นที่ทำให้ปลากระเบนตาย จากที่ฝนตกหนักมาก ฝนก็จะชะล้างดินลงมาในแม่น้ำแม่กลอง ทำให้น้ำมีสีขุ่น ประกอบกับปลากระเบน เป็นปลาที่กินหน้าดินเป็นอาหาร จึงทำให้ปลาตาย ส่วนประเด็นที่คิดว่ามีการปล่อยของเสียมาจาก จ.ราชบุรี หรือไม่ เมื่อวานนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ลงพื้นที่ตรวจโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่ระหว่างรอผลการตรวจสอบ
ส่วนปลาอื่นๆ ก็อาจได้รับผลกระทบบ้าง เช่น ปลาในกระชัง แต่ตรวจแล้ว ในแม่น้ำแม่กลอง ไม่มีปลาตายผิดปกติ แต่ถือว่าปีนี้มีปลากระเบนตายมากที่สุด ช่วงนี้ระดับน้ำในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม ก็มีปริมาณน้ำมากอยู่ เพราะเป็นจังหวัดสุดท้ายที่น้ำจะไหลลงทะเล หลังจากตรวจซากที่ศูนย์วิจัยฯแล้ว ก็จะเผาทำลายต่อไป การตรวจสภาพน้ำในแม่น้ำแม่กลอง จะมีการตรวจสภาพน้ำในแม่น้ำอยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่มีรายงานผลกระทบกับชาวบ้าน กรณีปลากระเบนตาย น้ำไม่ได้เสีย ประชาชนสามารถใช้น้ำได้ตามปกติ อยู่ระหว่างรอผลการตรวจคุณภาพน้ำประมาณ 15วัน
11.14น. รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกาเปิดเผยกับจส.100 ว่าหลังการตรวจสอบปลากระเบนตัวแรกที่ตาย สาเหตุยังไม่ชัดเจน ปลากระเบนที่เก็บมาได้เมื่อคืน ไม่ขยับตัว เหงือกซีด ถือว่าอาการหนักมาก ไม่รู้ว่าจะรอดหรือเปล่า ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือสิ่งกระตุ้น (อาจจะโดนพิษหนักมาก ที่ทำให้ไม่สามารถขยับได้) อาการแบบนี้มีปัญหาที่ระบบประสาท ทีมหมอจากจุฬา มาดูเมื่อคืนนี้ตอนเที่ยงคืน คาดว่าอาจจะมีปลากระเบนที่ตายมากกว่าที่ได้รับแจ้ง เท่าที่เห็นในขณะนี้ อาจจะเป็นเพียง 1 ส่วน 4 ของที่ตายจริงๆ ก็ได้ ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจริงๆ ทั้งฝ่ายมลพิษ สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรม กรมประมง กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง หน่วยงานสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับคน และทีมสัตวแพทย์ ให้ประสานงานกันอย่างจริงจัง และเป็นหนึ่งเดียว ทำงานอย่างประสานงานกันมากกว่านี้ เพราะตอนนี้ ต่างคนต่างทำงาน ไม่มีการประสานงานกันอย่างจริงจัง และต้องป้องกันอย่างจริงจัง เบื้องต้นจากการวิเคราะห์ผล ทราบว่าโดนพิษ แต่ไม่ทราบว่าเป็นชนิดไหน ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดเฉพาะปลากระเบนเท่านั้น แต่เป็นสัตว์น้ำชนิดอื่นด้วย รวมถึงปลาในกระชังด้วย
CR:เบญจ3 ม.สว่างเบญจธรรม