หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี นายกอรปศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง ได้ขอขยายเวลาการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม ออกไปอีก 1 ปี มีผลตั้งแต่ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจในประเทศอยู่ในช่วงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่กำลังอ่อนแอ เพื่อเป็นการรักษาเศรษฐกิจให้มีความฟื้นตัว ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการครองชีพของประชาชน มีผลใช้กับการขายสินค้าทุกกรณี
นอกจากนี้ยังมีมาตรการสนับสนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นเศรษฐกิจ สังคมภายในท้องถิ่น ในช่วงไตรมาตรแรก ของปีงบประมาณ 2560 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจ และกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงปลายปี 2559 ถึงต้นปี 2560 ประกอบด้วย โครงการสนับสนุนการลงทุนร่วมระหว่างรัฐกับองค์การปกครอบส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีกลุ่มเป้าหมาย คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เขตเทศบาล มีเงินอุดหนุน 19,795,000,000 ล้านบาท จากรัฐบาลสมทบกับองค์การปกครองส่วนทองถิ่น สัดส่วน 1 ต่อ 1 เพื่อนำไปใช้จ่ายด้านการคมนาคม แหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค การท่องเที่ยวชุมชน มีวัตถุประสงค์ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน ทั้งนี้ในแต่ละ องค์การปกครองส่วนทองถิ่น สามารถเสนอโครงการได้ มากกว่า 1 โครงการ แต่ไม่เกินวงเงินที่จะได้รับ ประกอบ องค์การปกครองส่วนตำบล (อบต.) ขนาดเล็ก วงเงิน 2,000,000 บาท องค์การปกครองส่วนตำบล ขนาดใหญ่ วงเงิน 3,000,000 บาท เทศบาลเมือง วงเงิน 7,000,000 บาท องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 10,000,000 ล้านบาท มอบหมายให้กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ดูแล
เห็นชอบ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนผ่านการใช้จ่ายเงินสะสมขององค์การปกครองส้งนทองถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชา เน้นที่กลุ่มผู้สูงอายุ ด้อยโอกาส ผู้พิการ มีระยะดำเนินการ ตั้งแต่ ตุลาคม 2559 - กันยายน 2560 ประกอบด้วย โครงการพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส โดยให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
นอกจากนี้ยังมีการเสนอ ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 12 (2560 - 2564)โดยยึดหลักการ เศรษฐกิจพอเพียง ให้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา มีวิสัยทัศน์สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยึดเป้าหมายอนาคตระยะยาว 20 ปีเป็นกรอบสอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืน สร้างความเจริญเติบโตให้เศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันอย่างยั่งยืน การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาภาคเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ และยุทศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา