คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดเผยแพร่แผนที่ที่พบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา ในวารสารทางการแพทย์ อีไลฟ์ (eLife) ซึ่งพบว่ามีประชาชนมากกว่า 2 พันล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งเป็นการนำเสนอรายงานที่ต่อเนื่องจากเมื่อสัปดาห์ก่อนศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดสหรัฐอเมริกา หรือซีดีซี ยืนยันว่า เชื้อไวรัสชนิดนี้มีผลต่อการเติบโตของทารกในครรภ์ ดร.ลิเวอร์ แบร์ดี้ จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีการจัดทำแผนที่สำรวจไวรัสซิกาในลักษณะเดียวกับไข้เลือดออก และชิกุนกุนย่า คือเน้นไปที่พื้นที่ที่พบยุงลายสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของโรค แต่เมื่อมีการวิเคราะห์จากการพบผู้ป่วย พบว่า ไวรัสชนิดนี้มีการแพร่ระบาดไปถึงพื้นที่ที่ไม่พบยุงลาย และทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของอเมริกาใต้ ไปจนถึงฟลอริด้า และเท็กซัสของสหรัฐอเมริกากลายเป็นพื้นที่เสี่ยง และต้องการเพิ่มการเฝ้าระวังกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งเชื้อจะถ่ายทอดไปถึงทารกในครรภ์
ดร.แบร์ดี้ กล่าวด้วยว่า ยุงเป็นเพียงพาหะหนึ่งของซิกาเท่านั้น แต่พาหะที่สำคัญที่สุดคือมนุษย์ ซึ่งทั้งแอฟริกา และเอเชียก็ยังเป็นพื้นที่กว้าง ที่อาจกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงได้เช่นกัน
..
F163
Oxford University