เงินเฟ้อเดือนส.ค. สูงขึ้นร้อยละ 0.35 ปัจจัย ผักสด-ผลไม้ ขยับราคา

05 กันยายน 2567, 12:52น.


         ภาวะเงินเฟ้อไทยในเดือนส.ค.นี้ นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือนส.ค.67 อยู่ที่ 108.79 หรือ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.35 ขณะที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.40-0.48 แต่ชะลอลงจากเดือนก.ค. ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.83



          การสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อดังกล่าว เนื่องจากสถานการณ์ฝนตกหนักและอุทกภัยในบางพื้นที่เพาะปลูก ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง รวมถึงข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และอาหารสำเร็จรูป อาทิ กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวราดแกง และอาหารตามสั่ง ราคาปรับสูงขึ้นเช่นกัน ขณะที่สินค้ากลุ่มพลังงาน (แก๊สโซฮอล์ ค่ากระแสไฟฟ้า) ราคาปรับลดลง สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อไม่มากนัก



          ขณะที่สินค้ากลุ่มพลังงานราคาลดลง เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ทั้งนี้ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย 8 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ส.ค.) อยู่ที่ร้อยละ 0.15



          แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกันยายน 2567 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2567 โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่



- ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศที่กำหนดเพดานไม่เกิน 33 บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน



- ผลกระทบจากอุทกภัยทำให้ราคาผักสดและผลไม้สดปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากแหล่งเพาะปลูกในบางพื้นที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเป็นผลกระทบระยะสั้น



- สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจจะส่งผลกระทบให้เกิดความไม่แน่นอนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญ รวมถึงต้นทุนค่าขนส่งทางเรือปรับตัวเพิ่มขึ้น



ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง ได้แก่



- ค่ากระแสไฟฟ้าภาคครัวเรือนอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อนหน้าตามมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ



- ฐานราคาน้ำมันดิบดูไบในตลาดโลกในปีก่อนหน้าที่อยู่ระดับสูง ประ



           ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือนส.ค.67 อยู่ที่ 105.06 หรืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 0.62 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.44



           สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ไตรมาส 4/2567 คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.5 อยู่ในกรอบเป้าหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กำหนดไว้ร้อยละ 1-3 กระทรวงพาณิชย์ ยังคงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ไว้ตามเดิมที่ร้อยละ 0-1



 



#เงินเฟ้อไทย



#ผักผลไม้แพง



 

ข่าวทั้งหมด

X