ธนาคารโลก เผยแพร่รายงาน การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบ สำหรับประเทศไทย (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2567 (Systemic Country Diagnostic Update: SCD Update) ยกระดับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ : ก้าวสู่การเติบโตที่ยั่งยืนและความเจริญรุ่งเรืองของคนทุกกลุ่ม (Shifting Gears: Toward Sustainable Growth and Inclusive Prosperity) โดยระบุว่า ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกประเทศ ประเทศไทยยังสามารถรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคและการเงินได้เป็นอย่างดีซึ่งสะท้อนถึงการบริหารจัดการทางเศรษฐกิจอย่างรอบคอบ
อย่างไรก็ตาม ยังมีผลลัพธ์ระดับสูง 5 ประการที่จะช่วยประเทศไทยเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจและพัฒนาสู่การเป็นประเทศรายได้สูงภายในปี พ.ศ. 2580 ภายใต้แนวทางการพัฒนาที่มีความเท่าเทียมทางสังคมและมีเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่
1 ทุนมนุษย์ที่แข็งแกร่ง
2 เศรษฐกิจที่มีการแข่งขันและนวัตกรรม
3 การพัฒนาเมืองแบบคาร์บอนต่ำและความเชื่อมโยง
4 การพัฒนาที่ยั่งยืนและการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
5 การสร้างสถาบันการเงิน การคลังที่เอื้ออำนวย
สำหรับปัจจัยท้าทายสำหรับประเทศไทยได้แก่ การพัฒนาทุนมนุษย์ เศรษฐกิจที่ด้อยศักยภาพการแข่งขัน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความเชื่อมโยง ความเสื่อมโทรมทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ และปัจจัยเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความอ่อนแอเชิงสถาบันการเงินและ การคลังของรัฐ
นายฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า เห็นได้ชัดว่าการเติบโตของประเทศไทยอยู่ในภาวะถดถอยมาเป็นเวลานาน ดังนั้น การปฏิรูปตามที่กำหนดไว้ในรายงาน SCD Update จะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เติบโตแบบรอบด้านได้อย่างยั่งยืน โดยขยับสถานะขึ้นเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ มีความเท่าเทียมทางสังคมมากขึ้น และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
...
อ่านฉบับเต็มได้ที่ http://wrld.bg/SkCi50R2Z8c
#ธนาคารโลก
#เศรษฐกิจไทย