เงินเฟ้อไทยปี 67 คาดว่า ชะลอตัวต่อเนื่องอยู่ในระดับต่ำ เดือนธ.ค.66 อันดับ 3 ของโลก

02 กุมภาพันธ์ 2567, 18:22น.


           นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ คาดแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2567 จะชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2566 และอยู่ในระดับต่ำ ระหว่างร้อยละ 1.7 ค่ากลาง ร้อยละ 0.7 เนื่องจากภาครัฐมีแนวโน้มดำเนินมาตรการลดค่าครองชีพอย่างต่อเนื่อง โดยผลการจัดอันดับอัตราเงินเฟ้อ ประจำเดือนธันวาคม 2566 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 จาก 139 เขตเศรษฐกิจที่มีการประกาศตัวเลข" (เรียงจากต่ำไปสูง)



          ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปี 2566 เทียบกับ ปี2565 "ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 9 จาก 139 เขตเศรษฐกิจที่มีการประกาศตัวเลข" (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มกราคม 2567



          ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ยทั้งปี 2566 เมื่อเทียบกับปี 2565 สูงขึ้นร้อยละ 1.23 ชะลอตัวค่อนข้างมากจากปี 2565 ที่สูงขึ้น ร้อยละ 6.08 ซึ่งอยู่ในกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินระหว่าง ร้อยละ 1.0 – ร้อยละ 3.0 เนื่องจากราคาสินค้าบางกลุ่มปรับลดลงอย่างชัดเจน อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิง ที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ รวมถึงเนื้อสุกร และเครื่องประกอบอาหาร อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยราคาสินค้าส่วนใหญ่ยังคงปรับสูงขึ้นตามการบริโภคที่ขยายตัวต่อเนื่อง ปี 2566 จึงยังไม่มีสัญญาณที่สะท้อนว่าภาวะเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด



          ยังคงมีปัจจัยที่อาจทำให้ดัชนีเศรษฐกิจการค้าไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ อาทิ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ภัยธรรมชาติ และมาตรการภาครัฐ ซึ่ง สนค. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ดัชนีเศรษฐกิจการค้ามีความถูกต้อง แม่นยำ สอดคล้องกับสถานการณ์ และสามารถนำไปใช้ประกอบการดำเนินมาตรการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



          หัวหน้าฝ่ายวิจัยของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนสถานการณ์ตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่กลุ่มติดอาวุธได้ทำการโจมตีเรือขนส่งสินค้าในทะเลแดงนั้นจะส่งผลให้เงินเฟ้อทั่วโลกพุ่งขึ้น และสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ และการค้าโลก



 



#เงินเฟ้อไทย



 

ข่าวทั้งหมด

X