ทำความรู้จัก!คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก ปกคลุมตอนบน 12-14 ม.ค.ทำให้มีฝน

08 มกราคม 2567, 12:27น.


             สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง ช่วง 12-14 ม.ค.67 คาดว่าจะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก พัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ทำให้มีฝน/ฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ปีนี้มาเร็ว ปกติจะเกิดขึ้นช่วงปลายมกราคม เรียกฝนที่เกิดขึ้นว่าเป็นฝนชะช่อมะม่วง(มะม่วงกำลังออกดอก ติดผล) ปริมาณฝนไม่มาก แต่จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงได้หรือไม่ ยังต้องติดตามและอัพเดทเป็นระยะๆ เพราะแนวกระแสลมตะวันตกดังกล่าวไม่ได้ลงมาลึกมาก




             คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก เป็นปรากฎการณ์ที่กระแสลมในระดับบนตั้งแต่ 500 hPa (สูงจากพื้นดิน ประมาณ 5.5 กิโลเมตร) ขึ้นไป พัดมาจากด้านตะวันตก(จากเมียนมา) ไปทางตะวันออก มักเกิดขึ้นในระยะ 2-3 วัน ช่วงเปลี่ยนฤดูกาล การเคลื่อนตัวมีลักษณะคล้ายคลื่น จึงเรียกว่า คลื่นกระแสลม 


           ผลกระทบขึ้นอยู่กับช่วงระยะเวลาที่เกิด หากเกิดขึ้นในช่วงที่กำลังเปลี่ยนแปลงฤดูกาล (ปลายช่วงฤดูหนาว) มักทำให้มีความรุนแรง เช่น มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และบางครั้งอาจมีลูกเห็บเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละช่วง โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง น่าน พะเยา) ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายได้ 


 


 


#คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก


CR:ขอบคุณข้อมูล-ภาพ กรมอุตุนิยมวิทยา 
ข่าวทั้งหมด

X