ความวิตกกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามจากกลุ่มกบฏฮูตีทำให้บริษัทขนส่งสินค้าพากันเปลี่ยนเส้นทาง หลังจากบริษัทขนส่งสินค้ารายใหญ่ เช่น เมอส์กเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือไปทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกโจมตีในทะเลแดง โดยขณะนี้เรือขนส่ง 20 ลำของเมอส์กกำลังจอดเทียบท่าอยู่ทั้งสองฝั่งของคลองสุเอซ และจะเดินทางอ้อมทวีปแอฟริกาผ่านแหลมกู๊ดโฮป
นอกจากนี้ บริษัทขนส่งทางทะเล เช่น บีพี (BP) ของอังกฤษ และเอควินอร์ (Equinor) ของนอร์เวย์ ได้ตัดสินใจหลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางทะเลแดง เนื่องจากวิตกกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามจากกลุ่มกบฏฮูตีเช่นกัน
ด้านนายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงจากเหตุการณ์สงครามอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสที่ผ่านมา แม้ขณะนี้จะยังไม่เกิดความรุ่นแรงขยายวงกว้างของสงครามดังกล่าว แต่กระทรวงพาณิชย์มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และได้รับรายงานจาก สรท.ว่ามีการประกาศของสมาคมการเดินเรือ หากสถานการณ์สงครามรุนแรงขึ้นคงต้องมีการปรับเปลี่ยนเส้นทางการเดินเรือบ้างเพื่อไม่ให้สินค้าไทยได้รับผลกระทบมาก แต่อาจทำให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายค่าระหว่างเรือสูงขึ้น โดยในช่วงบ่ายพรุ่งนี้ (21 ธ.ค.) จะมีการประชุมออนไลน์กับทาง สรท.และที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันประเมินสถานการณ์สงครามอิสราเอลและกลุ่มฮามาสเพื่อเตรียมแผนรองรับ หากสถานการณ์เกิดความรุนแรงเกิดขึ้นตามมา แต่โดยภาพรวมมั่นใจว่าการส่งออกของไทยในปี 66 ไม่น่าจะกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวมากนัก แต่หากรุนแรงเกิดขึ้นคงต้องมีทบทวนกันอีกครั้ง
นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาขนส่งทางเรือแห่งประเทศไทย หรือ สรท.กล่าวถึงคำประกาศจากกลุ่มขนส่งสินค้าทางเรือระหว่างประเทศว่า หากสถานการณ์สงครามอิสราเอลและกลุ่มฮามาสเกิดความรุนแรงและขยายออกไปในกลุ่มตะวันออกกลางจะมีการปรับเปลี่ยนเส้นทางขนส่งทางเรือโดยเฉพาะขณะนี้การส่งออกสินค้าทางเรือในกลุ่มสินค้าประเภทอาหารสดจะผ่านคลองสุเอซ(Suez) โดยให้เปลี่ยนเส้นทางเดินเรือผ่านแอฟริกาใต้แทน ทำให้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายค่าระวางเรือเพิ่มขึ้นจากปกติ 1,500 เหรียญต่อตู้คอนเทนเนอร์ เป็น 3,000 เหรียญต่อตู้คอนเทนเนอร์
แม้จะมีประกาศดังกล่าวออกมาแต่เท่าที่ได้ติดตามการเดินเรือส่งออกสินค้าผ่านคลอง Suez ตอนนี้ยังถือเป็นปกติมีการเดินเรือผ่านเส้นทางนี้ต่อวัน 100 ลำ แต่คงต้องติดตามหากสถานการณ์ความรุนแรงของสงครามขยายวงกว้าง ดังนั้น หากสงครามไม่ขยายวงก็คิดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทย
#ส่งออกเรือ
#สงครามอิสราเอลฮามาส
#ทะเลแดง