ปธ.สนช. ระบุ ม.44ไม่ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีสั่งการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรรมนูญ

30 เมษายน 2558, 11:08น.


ตามที่มีผู้เสนอให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ใช้อำนาจตามมาตรา44  ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เพื่อสั่งให้มีการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เปิดเผยว่า มาตรา44 ไม่ได้ให้อำนาจในเรื่องนี้ไว้ หากจะทำประชามติหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จะต้องไปแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา46 ที่ให้อำนาจคณะรัฐมนตรี คสช. และสนช. เป็นผู้ร่วมกันลงมติเห็นชอบแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการทำประชามตินั้นไม่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว  โดยมาตรา46 จะเป็นการเปิดช่องทางของผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไว้กรณีที่เกิดปัญหาขึ้น แนวคิดการลงประชามติ แต่การจะยื่นเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น จะต้องมีเหตุผลพอ


นายพรเพชร ระบุด้วยว่า มาตรา46 เป็นมาตราที่มีอำนาจมากเพราะสามารถแก้ไของค์กรตามรัฐธรรมนูญได้ทุกองค์กร แต่หากจะแก้ไขก็ต้องได้รับความเห็นชอบจากครม. คสชและสนช. อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ไม่เคยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพราะมีผลบังคับระยะสั้น แต่นายพระเพชรไม่แสดงความเห็นส่วนตัวว่าสนับสนุนการทำทำประชามติหรือไม่ แต่หากจะทำประชามติจริง ็คาดว่าต้องยืดเวลาไปอีก 3 เดือน ในการประกาศใช้รัฐธรรมนูฐฉบับใหม่


ส่วนขอบเขตการใช้มาตรา44 ของหัวหน้าคสช.นั้น นายพรเพชร ระบุว่า เป็นการให้อำนาจในการโยกย้ายข้าราชการ และการออกกฎหมายต่างๆเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฎิรูปประเทศ  และการใช้อำนาจมาตรา44 ไม่ได้เป็นรัฐถาธิปัตย์ เพราะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งไม่สามารถใช้บังคับได้ตามอำเภอใจ และการเป็นรัฐถาธิปัตย์ของพล.อ. ประยุทธ์ นั้นก็หมดลงตั้งแต่การมีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว เพียงแต่รัฐธรรมนูญรับรองสถานะคสช.ในการให้อำนาจตามมาตรา44 เพื่อปฎิรูปประเทศ พร้อมยืนยันว่าคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้ขัดแย้งใดๆกับพล.อ. ประยุทธ์ ในเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนการแก้ไขร่างนั้นก็ยังสามารถทำได้ใน 60 วันจากนี้ และเชื่อว่าคณะกรรมาธิการจะฟังเสียงทุกฝ่าย แต่เหตุที่ให้ความสำคัญกับสภาปฎิรูปแห่งชาติมากนั้น เนื่องจากสปช.ต้องเป็นผู้ลงมติเห็นชอบร่าง ซี่งเป็นเสมือนเสาหลักของการรับร่างรัฐธรรมนูญ  


 


..ผสข.ธีรวัฒน์ สิทธิเกรียงไกร 
ข่าวทั้งหมด

X