'Whoscall'เปิดข้อมูลรั่วไหลของคนไทยมาจากเบอร์โทรศัพท์ ยอดสายมิจฉาชีพหลอกลวงพุ่งร้อยละ 165

03 เมษายน 2566, 15:07น.


        Whoscall ผู้นำด้านแอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก และป้องกันสแปม สำหรับสมาร์ทโฟน ได้ออกมาเปิดเผยสถิติสำคัญครั้งแรกว่า จำนวนการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยกว่า ร้อยละ 45 หรือ 13.5 ล้านเบอร์  การรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์เป็น ปัญหาสำคัญทั่วโลก รวมถึงการหลอกลวงทางข้อความ SMS ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลมักเป็นด่านแรกที่มิจฉาชีพใช้เข้าถึงรายละเอียดการติดต่อเพื่อหลอกลวงเหยื่อ  ซึ่งรหัสผ่าน เบอร์โทรศัพท์ และชื่อ เป็นข้อมูลส่วนตัว ที่มีการรั่วไหลมากที่สุด ตามด้วยสัญชาติ อีเมล ที่อยู่ และวันเกิด



          สำหรับประเด็นการรั่วไหลอาจเกิดขึ้นจาก ฐานข้อมูลขององค์กรหรือรัฐบาลถูกโจมตีทางไซเบอร์ หรือเมื่อผู้ใช้กรอกแบบสำรวจ แบบทดสอบทางจิตวิทยา หรือแบบฟอร์มในเว็บไซต์ฟิชชิ่ง โดยข้อมูลที่รั่วไหลแต่ละประเภทอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น บัญชีธนาคารออนไลน์หรือบัญชีโซเชียลเน็ตเวิร์ก อาจถูกขโมยได้หากรหัสผ่านรั่วไหล หรือในกรณีที่มิจฉาชีพได้ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ แม้แต่บันทึกการชำระเงินและการซื้อของ ก็จะสามารถใช้หลอกลวงทางโทรศัพท์และข้อความ SMS ได้อย่างง่ายดาย เพื่อป้องกันภัยจากมิจฉาชีพเราจึงควร ใช้การยืนยันตัวตนแบบสองขั้น (Two-Factors Authentication) เมื่อใช้บริการออนไลน์ เปลี่ยนรหัสผ่านที่รัดกุมเป็นประจำ 





          Whoscall ได้ออกรายงานประจำปี 2565 ระบุว่า ประเทศไทย เผชิญสายมิจฉาชีพพุ่งร้อยละ165 หรือ 17 ล้านครั้ง     ขณะที่ทั่วโลกมีการหลอกลวงทั้งจากสายโทรเข้าและข้อความ SMS รวม 405.4 ล้านครั้ง โดยมิจฉาชีพนิยมส่งข้อความหลอกลวงเนื่องจากสามารถเข้าถึงเหยื่อจำนวนมากด้วยต้นทุนต่ำ ข้อความ SMS ถูกใช้เป็น เครื่องมือเพื่อ "ติดต่อครั้งแรก" โดยหลอกให้เหยื่อกดลิงก์ฟิชชิ่งเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว เพิ่มบัญชีไลน์เพื่อหลอกให้ส่งข้อมูลหรือ โอนเงินให้ กลอุบายที่พบบ่อย ได้แก่ 



-การเสนอเงินกู้โดยมักอ้างรัฐบาลหรือธนาคาร  



-การให้สิทธิ์เข้าตรงเว็บพนันออนไลน์ ที่ผิดกฎหมาย  



          สำหรับคีย์เวิร์ดของข้อความหลอกลวงที่ถูกรายงานที่พบบ่อยที่สุด เช่น 



“รับสิทธิ์ยื่นกู้” 



“เครดิตฟรี” 



“เว็บตรง” 



“คุณได้รับสิทธิ์” 



“คุณได้รับทุนสำรองโครงการประชารัฐ” 



“คุณได้รับสิทธิ์สินเชื่อ” 



 “คุณคือผู้โชคดี”   



 



#แฮกเกอร์



#หลอกลวงทางไซเบอร์



 

ข่าวทั้งหมด

X