กองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลว่า ในช่วงเย็นวันนี้(28 มี.ค.66) ตั้งแต่ 16.00 น. กรุงเทพฯ และปริมณฑล จะเจอพายุฤดูร้อนฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ประมาณ 20% ไม่ได้ตกข้ามวัน แต่จะตกเป็นรายชั่วโมง และยังเฝ้าระวังในวันพรุ่งนี้(29 มี.ค.66) ด้วย อุณหภูมิของกรุงเทพฯวันนี้สูงสุด ประมาณ 38 องศา
ส่วนความเสียหายจากเหตุการณ์พายุฤดูร้อนพัดถล่ม 3 จังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM และ กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานรายละเอียดว่า เมื่อวันที่27-28 มี.ค.66 เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก 3 จังหวัด 7 อำเภอ10 ตำบล 20 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 109 หลัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
1.นครพนม มีสถานการณ์ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนครพนม อำเภอท่าอุเทน อำเภอนาหว้า และอำเภอศรีสงคราม รวม 6 ตำบล 6 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 67 หลัง
2.สกลนคร เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 66 เวลา 13.30 น. เกิดเหตุพายุฤดูร้อน หอบเอาหลังคาบ้านเรือนเสียหายหลายหลัง ในพื้นที่ อ.โพนนาแก้ว ทำให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย ในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่
- ตำบลบ้านโพน หมู่ที่ 1,7,8 จำนวน 17 หลังคาเรือน
- ตำบลนาตงวัฒนา หมู่ที่ 1,2,4,5,7,10 จำนวน 18 หลังคาเรือน
- รวม 35 หลังคาเรือน
3.ร้อยเอ็ด มีสถานการณ์ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอธวัชบุรี รวม 2 ตำบล 5 อำเภอ บ้านเรือนเสียหาย 7 หลัง
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 28 มี.ค.- 6 เม.ย.66 อัพเดท 2023032712 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :
*เตือน!!! ช่วง 28 -29 มี.ค.66 อากาศยังร้อน และร้อนจัดในช่วงกลางวัน และช่วงเย็น-ค่ำวันนี้คาดว่าจะเริ่มมีพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (ฝน/ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บ) บริเวณภาคอีสาน ภาคกลาง (กทม.ปริมณฑล) และภาคตะวันออก (ในแบบจำลองฯฝนอาจจะดูไม่มาก แต่ฝนที่เกิดส่วนใหญ่จะเป็นฝนฟ้าคะนอง ) สาเหตุมาจากมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจะแผ่ลงมาปกคลุม ทางภาคอีสานตอนบน ทำให้เกิดแนวพัดสอบเข้ากันของลม 2 กระแส คือลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในบริเวณดังกล่าว ประกอบกับประเทศไทยตอนบนมีหย่อมความกดอากาศต่ำ เนื่องจาก ความร้อนปกคลุมอยู่ในขณะนี้ ทำให้สภาพอากาศแปรปวน ต้องระวังพายุฤดูร้อน (ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า ลูกเห็บ) ฝนพอจะช่วยคลายร้อนได้บ้าง
-ก่อนที่ช่วง 30 มี.ค.- 6 เม.ย.66 อากาศจะกลับมาร้อนเหมือนเดิม แต่ยังมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้บางแห่ง บริเวณภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้ ระยะนี้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ลมตะวันออก พัดปกคลุม คลื่นลมมีกำลังอ่อน
(ข้อมูลนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ) เฉดสี แสดงถึงปริมาณฝนสะสมทุกๆ 24 ชม. สีฟ้าหมายถึงฝนเล็กน้อย สีแดง : ฝนตกหนัก สีชมพู: ฝนตกหนักมาก
#พายุฤดูร้อน
CR:ขอบคุณข้อมูล-ภาพ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM, กรมอุตุนิยมวิทยา