ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. มีมติพิจารณาค่าเอฟทีเรียกเก็บ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวม 4.77 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าภาคธุรกิจลดลง 56 สตางค์ต่อหน่วย แต่ค่าไฟบ้านกลับแพงขึ้น 5 สตางค์/หน่วย จากเดิมอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย
นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. กล่าวว่า ทำไมครัวเรือนต้องจ่ายค่าไฟแพงขึ้น ทั้งที่รอบพฤษภาคม – สิงหาคม ทิศทางราคาพลังงานโลกมีแนวโน้มลดลง
การบริหารจัดการไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ ที่กระทบครัวเรือนทุกคน ทั้งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของภาคธุรกิจ ที่กำลังเร่งฟื้นฟู ในข่วงภาวะเศรษฐกิจของโลกชะลอตัว และแข่งขันรุนแรงในระดับประเทศ โดยตั้งข้อสังเกตว่า ประชาชนคนไทยต้องจ่ายค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้น ในขณะที่โรงไฟฟ้าเอกชนหลายราย ต่างก็มีผลประกอบการที่มีกำไร และเติบโตกันถ้วนหน้า โดยเสนอว่า ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีความผันผวน กกพ. ควรคำนวนค่าเอฟทีโดยเปลี่ยนจาก 3 งวด/ปี และงวดละ 4 เดือนเป็น 6 งวด/ปี หรือ ทุก 2 เดือน เพื่อให้ต้นทุนค่าไฟฟ้ามีความถูกต้องต่อสถานการณ์มากขึ้น
...
#ค่าไฟ
#สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย