การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มรายจ่ายภาครัฐ การลงทุนของภาครัฐสูงกว่าการเพิ่มรายได้มานับ 10ปี ข้อเห็นได้ชัดภาครัฐ ขาดทุนงบประมาณมาตลอด และก็เป็นหนี้เพิ่มขึ้นมาตลอด และจุดอันตรายก็มาจากรายได้ไม่พอรายจ่าย จึงทำให้ลดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนภาครัฐในสมัยก่อนสูงถึงร้อยละ 30ของงบประมาณ แต่การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558ลดลงเหลือร้อยละ 17.5 ของงบประมาณ แต่เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า รายได้ที่มีอยู่ตามการจัดเก็บภาษีปัจจุบันย่อมไม่เพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวตามโครงการได้ จึงมีความจำเป็นต้องหาทางจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นก็มีหลายทาง ภาษีที่เก็บอยู่ปัจจุบันก็เป็นภาษีรายได้ และภาษีการค้า แต่ภาษีที่เกือบจะไม่ได้เก็บหรือเก็บน้อยมากก็เป็นภาษีทรัพย์สมบัติของประชาชน ซึ่งในต่างประเทศเขาเก็บกันหมดแล้ว ด้วยเหตุผลดังกล่าวรัฐบาลจึงนำมาจัดเก็บภามีมรดกและภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แต่ต้องระวังไม่ให้กระทบต่อผู้มีรายได้น้อยให้น้อยที่สุด ยึดหลักการเก็บภาษีด้วยความยุติธรรม ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเสนอเข้า ครม. และยังอีกนานกว่าจะมีผลบังคับใช้ ส่วนภาษีมรดกหากสามีเสียชีวิตภรรยาเป็นผู้รับมรดกไม่ต้องเสียภาษี ในส่วนการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาเพิ่มขึ้นนั้นยืนยันว่าไม่กระทบต่อผู้ปกครองเพราะเป็นการเก็บภาษีจากผู้ประกอบการที่มีกำไรมากอยู่แล้ว และทางรัฐบาลจัดเก็บจากกำไรส่วนเกินของโรงเรียนนั้นๆ