พญ.สุมณี วัชรสินธ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ภาคใต้ว่ากระทรวงสาธารณสุข ติดตามสถานการณ์ทุกวัน มีการประชุมและเร่งทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาสังคม พบว่า กราฟมีทิศทางเริ่มทรงตัว แนวโน้มเริ่มลดลง
ผลการประชุมสรุปว่า
1.เร่งรัดให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 เพิ่มขึ้น ทั้งในกลุ่มประชาชนทั่วไป กลุ่มเสี่ยง 608 นักเรียน นักศึกษา และแรงงานในพื้นที่ ด้วยการประชาสัมพันธ์เป็นภาษาพื้นถิ่น ผ่านทางหอกระจายข่าว แผ่นพับ ผู้นำชุมชน และ ผู้นำทางศาสนา
-4 จังหวัดภาคใต้ ฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 เกิน 50% แล้ว คือ จ. สงขลา และยะลา ส่วนอีกสองจังหวัด นราธิวาส และปัตตานี เริ่มฉีดมากขึ้นแล้ว ส่วนกลุ่มเสี่ยง 608 ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ ฉีดไปแล้วเฉลี่ย 59.4% ส่วนการฉีดในคนที่มีโรคประจำตัวฉีดไปแล้ว 57.9%
2.การจำกัดวงของเชื้อ ไม่ให้การแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง การแพร่ระบาดในปัจจุบัน พบการติดเชื้อในครอบครัว ชุมชน และในตลาด สถานประกอบกิจการ ร้านอาหาร ร้านน้ำชา
ผลการประชุม สามารถดำเนินการได้ ดังนี้
-การนำรถพระราชทานชีวนิรภัย และ รถโมบายวัคซีนเอสซีจี ลงพื้นที่ไปตรวจหาเชื้อและฉีดวัคซีน ซึ่งรถโมบาย มีความเย็นที่เสถียร
-การส่งทีม CCRT ลงไปสอบสวนโรค และคัดกรองเชิงรุกรวม 382 ทีม
-แต่ละจังหวัด จัดทำแผนเชิงรุก เช่น จ.นราธิวาส จัดทำแคมเปญ SAVE NARA NARA SAVE ผ่านผู้นำศาสนา ฝ่ายปกครอง อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน
-จ.สงขลา จัดทำแคมเปญ ตรวจไว รักษาไว ถ้าไม่ติดเชื้อ เร่งฉีดวัคซีนให้รวดเร็ว
ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ห่วงการเสียชีวิตในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีทั้งผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี คนที่มีโรคประจำตัว และหญิงตั้งครรภ์ที่ทำให้ทารกเสียชีวิตด้วย สิ่งที่พบคือ กว่า90% กลุ่มคนที่เสียชีวิต ไม่ได้ฉีดวัคซีน เป้าหมายหลัก คือ การระดมเร่งฉีดให้กลุ่มเสี่ยงให้ได้มากที่สุด
จากข้อมูลเมื่อวานนี้ (26 ต.ค.64) พบว่า ผลรวมกลุ่มเสี่ยง 100% ที่เสียชีวิตไม่ได้ฉีดวัคซีน ส่วนหญิงตั้งครรภ์และทารกเสียชีวิตด้วยมีถึง 50% ส่วนมากเกิดจากการหายใจล้มเหลว เนื่องจากสรีระของหญิงตั้งครรภ์มดลูกโตขึ้น ครึ่งหนึ่งยังไม่ได้คลอดบุตร
#เร่งฉีดวัคซีนภาคใต้
CR:ภาพ ศูนย์ข้อมูล COVID-19