นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้แจงความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์และการกลายพันธุ์โควิด-19 พร้อมทั้งอธิบายคำว่า พลัส หมายความว่า สายพันธุ์เดิมและมีการเติมการกลายพันธุ์บางอย่าง
-สายพันธุ์เดลตา พลัส หรือ B.1.617.2 มี 47 subtypes ในประเทศไทย พบ AY.1 ถึง AY.47 และที่พบจำนวนมากคือ AY. 30 และ 39
-ประเทศไทยยังไม่พบสายพันธุ์เดลตา พลัส หรือ AY.4.2 ที่เจอในประเทศอังกฤษ
-กรณีที่แถลงว่าพบผู้ป่วยสายพันธุ์เดลตา พลัส เป็น เดลตา AY.1 K417N กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประสานข้อมูลจากสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร พบผู้ป่วยชาย 1 คน ตั้งแต่เดือนก.ย.64 ที่ จ.กำแพงเพชร พักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม และหายดีแล้ว แต่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ขยายผลด้วยการเก็บตัวอย่างคนที่เสี่ยงสัมผัสมาตรวจเพิ่มเติม สรุปว่าของไทยที่พบเป็นคนละพลัสที่กำลังแพร่ระบาดในต่างประเทศ
ภาพรวมการติดเชื้อในประเทศ
-การติดเชื้อโควิด-19 ในระยะหลัง พบการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาเกือบ 90%
-4 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ การตรวจในช่วงแรกที่ระบุว่า พบสายพันธุ์อัลฟา เนื่องจาก มีการตรวจกลุ่มตัวอย่างน้อย แต่ในปัจจุบันตรวจมากขึ้น ทำให้พบว่า สายพันธุ์อัลฟา เริ่มลดลง และแทนที่ด้วยสายพันธุ์เดลตา และพบมากเกือบทุกจังหวัดในพื้นที่ 4 จังหวัด
-การตรวจพบอัลฟา พลัส หรือ E484K เจอสายพันธุ์นี้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนก.ย.64 และในช่วงเดือนนี้ พบ 2 คน เป็นผู้ต้องขังที่ จ.เชียงใหม่ มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เก็บตัวอย่างวันที่ 27 ก.ย.64 อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค
ในพื้นที่ภาคตะวันออก ตรวจสายพันธุ์จำนวน 1,119 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 9-10 ต.ค.64 เจอที่ จ.จันทบุรี และ จ.ตราด 16 คน อยู่ในล้งลำไย เป็นชาวกัมพูชา 12 คน คนไทย 4 คน ประสานงานพื้นที่เพื่อควบคุมโรค ดำเนินการตรวจเชิงรุกอย่างต่อเนื่องและขยายผลการตรวจในพื้นที่อื่นเพิ่มเติม
จากการพิจารณารายงานของทุกประเทศ พบข้อมูลว่ามีการระบาดของสายพันธุนี้ในประเทศกัมพูชา การกลายพันธุ์ของสายพันธุ์นี้ ทำให้เกิดการหลบภูมิ แต่เมื่อดูแล้วความรุนแรงของสายพันธุ์นี้ถูกเบียดด้วยสายพันธุ์เดลตา ทำให้อำนาจการแพร่กระจายไม่สูง มีจำนวนน้อยลง แต่อย่างไรก็ตาม จะตรวจดูในพื้นที่อื่นเพิ่มเติมด้วย ซึ่งสายพันธุ์นี้พบที่ประเทศอังกฤษเป็นที่แรก เมื่อช่วงปลายเดือน ธ.ค.63
#กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
#เดลตาพลัส
#อัลฟาพลัส