การสร้างภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ศ.นพ. นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Nithi Mahanonda ถึง ผลการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันโควิด19 เปรียบเทียบระหว่างก่อนวัคซีนเข็มแรกของ Sinovac 1931 และAZ 864 คน ส่วนหนี่งในการตอบคำถามผู้ที่สงสัยว่า ขณะนี้ไม่สามารถยืนยันระดับภูมิคุ้มกันกับประสิทธิภาพการป้องกันได้ ถ้าเข้าใจการแปลผลและวิเคราะห์ มี clinical appraisal ที่รอบคอบจะเข้าใจว่า เหล่านี้ ไม่ใช่เพียงปัจจัยเดียว ถ้าเราจะเอา hard endpoint คือตาย วัคซีนทุกชนิดลดอัตราตายได้ ใกล้ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลืออื่นๆ ต้องไปดูแต่ละการศึกษา ซึ่งก็ไม่ได้ติดตามตรวจคนไข้ละเอียดทุกขั้นตอน คือส่วนใหญ่ดูอาการ
ประเด็นสำคัญที่ทุกคนลืม แต่เคยพูดหลายครั้งหลายหนแล้ว คือเรื่องของระบาดวิทยานั้น ปัจจัยทางสังคมมีความหมายพอหรืออาจมากกว่า ทางการแพทย์ด้วยซ้ำ ฉีดวัคซีนได้ เจ็ดแปดสิบเปอร์เซ็นต์ แม้แต่วัคซีนมีประสิทธิภาพร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ไม่สามารถประกันได้ว่าจะไม่มีการระบาดอีก การจะพูดอะไรก็ต้องคาดการให้ได้ว่าจะเกิดอะไร ผลลัพธ์อะไรจะเกิดถ้าเกิดก็ต้องรับกันไปล่ะครับ
ก่อนฉีดวัคซีนเรามีคนที่มีภูมิคุ้มกันสูงอยู่บ้างแล้ว ซึ่งอาจแปลว่า ในประชากรไทยมีคนที่ติดเชื้อและไม่มีอาการเดินไปมาอยู่ หรือ ผล/วิธีตรวจไม่มีความจำเพาะ(specificity)100% ระดับภูมิคุ้มกันนี้ไม่สามารถแปลผลส่งไปถึงประสิทธิภาพของวัคซีนได้ อย่างที่หลายๆคนพยายามเข้าใจหรือทำให้คนเข้าใจ/สับสน(อย่างน้อยก็เท่าที่ข้อมูลปัจจุบันมี) เพราะประสิทธิภาพวัคซีนตัวหนึ่งจะมีปัจจัยอื่นๆที่ไม่ได้ถูกดู วิเคราะห์หรือควบคุมในการวัดระดับภูมิคุ้มกัน ในห้องแลป