Severity: Notice
Message: Undefined offset: 77
Filename: news/detail.php
Line Number: 394
“โรคลมพิษ” มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งที่ผ่านมาอาจมีหลายคนเชื่อว่าอย่าโดนลมพัดตัวเด็ดขาดเพราะจะทำให้เกิดอาการผื่นคันนี้ขึ้นมาได้ ทว่าความเชื่อนี้จริงหรือไม่? ด้วยความห่วงใยจาก รศ. นพ.นภดล นพคุณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงได้อกมาอธิบายถึงโรคลมพิษกับความเชื่อว่าไม่ควรโดนลม สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
“โรคลมพิษ” กับความเชื่อว่าไม่ควรโดนลม
สำหรับโรคลมพิษนั้นจริงๆ แล้วไม่มีความเกี่ยวข้องกับการโดนลมแต่อย่างใด เพราะเกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น เช่น ความร้อน ความเย็น แรงกดหรือเกิดจากปฏิกิริยาจากสารต่างๆ ที่ร่างกายแพ้ โดยลักษณะโรคบอกต้องบอกว่าลมพิษมีรูปร่างหลายรูปแบบ เช่น เป็นปิ้นใหญ่ๆ ผื่นแบบวง ผื่นแนวยาว ผื่นเล็กๆ ทั่วร่างกาย เป็นต้น ซึ่งฝืนส่วนใหญ่มักอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
สาเหตุของโรคลมพิษ
- เกิดจากการแพ้อาหารแพ้ยา หรือแพ้ภูมิตัวเอง
- ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
- เกิดจากฟิสิกส์ เช่น แสงแดด การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ รอยเกา หรือรอยเสียดสีกดทับ
ชนิดของลมพิษ การรักษาและสิ่งที่ควรเลี่ยง
ลมพิษแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ลมพิษชนิดเฉียบพลัน มีระยะเวลาของโรคไม่เกิน 6 สัปดาห์ สามารถหายได้เอง และลมพิษชนิดเรื้อรัง มีระยะเวลาของโรคนานเกิน 6 สัปดาห์ มีอาการกำเริบอยู่เรื่อยๆ ซึ่งในส่วนของการรักษาจะเริ่มต้นหาสาเหตุของโรคลมพิษ แล้วใช้ยาต้านฮีสตามีนช่วย สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ยา อาหารที่แพ้ หรือสิ่งกระตุ้น
ทั้งนี้ เป็นลมพิษสามารถอาบน้ำได้โดยไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรโดยตรง แต่โอกาสที่ทำให้เกิดอาจมาจากการกดหรือเสียดสีของผิวหนังระหว่างฟอกถูตัว รวมถึงการใช้ผ้าเช็ดตัว มีโอกาสทำให้เกิดลมพิษได้นั่นเอง
ข้อมูล : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย