สำนักข่าวซินหัว รายงานจากประเทศสิงคโปร์ วันนี้ (21 พ.ค.68) เกี่ยวกับมาตรการที่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเสริมสร้างเกราะป้องกันทางสาธารณสุข เนื่องจาก นกพิราบสามารถแพร่เชื้อแบคทีเรีย รวมถึงเชื้อซาลโมเนลลา ( salmonella ) ทำให้เกิดอาการท้องเสีย มีไข้ และปวดท้อง ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคออร์นิโทซิส หรือ ไข้นก ( ornithosis ) ทำให้มีอาการไข้ ปวดศีรษะ อาเจียน และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
รายงานระบุว่า โครงการนำร่องเริ่มต้น เมื่อเดือนมิ.ย. 67 ในสามพื้นที่ทางตอนกลางของสิงคโปร์และสามารถลดประชากรนกพิราบลงราว 50% รวมถึงข้อเรียกร้องจากประชาชนที่เกี่ยวกับนกพิราบ ลดลงประมาณ 34% เมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์
คณะกรรมการสวนสาธารณะแห่งชาติ สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และสำนักงานอาหารสิงคโปร์ เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการนำร่องนี้ ครอบคลุมมาตรการขยายบริการเชิงรุกสู่สาธารณชน และการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อปรับปรุงการจัดการขยะและเศษอาหารตามศูนย์กำจัดขยะ และศูนย์อาหารริมทาง พร้อมป้องกันการให้อาหารนกอย่างผิดกฎหมาย
ขณะเดียวกัน มีการตรวจตราจุดที่มักเกิดการให้อาหารนกอย่างผิดกฎหมาย เพื่อดำเนินการทางกฎหมายกับการให้อาหารนกอย่างผิดกฎหมายแล้ว 50 กรณี
การขยายพื้นที่ดำเนินโครงการนำร่อง จะเป็นพื้นที่ทางตอนเหนือและตอนใต้ของสิงคโปร์ หากประสบความสำเร็จด้วยดี จะมีการขยายพื้นที่ดำเนินโครงการไปทั่วประเทศ เพื่อช่วยจัดการกับประชากรนกพิราบ
#สิงคโปร์
#คุมนกพิราบ
Cr:ขอบคุณ ข้อมูล สำนักข่าวซินหัว
แฟ้มภาพ