เมื่อเวลา 08.00 น. นายแพทริค เมอร์ฟี อุปทูตสหรัฐอเมริกา รักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้เดินทางมายังกระทรวงการต่างประเทศ ตามคำเชิญของทางการไทย เพื่อเข้าชี้แจงข้อข้องใจ และความไม่สบายใจของไทย นายดอน ปรมัติถ์วินัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวกับสื่อมวลชน หลังจากนั้น โดยย้ำว่า ท่าทีของไทย ไม่ได้เมินเฉยต่อข้อเรียกร้องของสหรัฐ แต่ประเทศไทยต้องทักท้วงสิ่งที่กำลังเข้าใจผิด ไทยกำลังก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย ให้มีความโปร่งใสมากขึ้น ปฎิรูปให้กับประชาชนมากขึ้น ตามแนวทาง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน รวมถึงชี้แจงถึงการคงกฎอัยการศึกเอาไว้ เชื่อว่า การเชิญมาพูดคุยครั้งนี้ จะไม่กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและสหรัฐ
ส่วนการคงกฏอัยการศึกนั้น นายดอย ได้ชี้แจงว่า มีการพูดคุยเรื่องดังกล่าวกันหลายครั้งแล้ว ซึ่งภาพรวมคนไทยไม่มีผลกระทบต่อกฏอัยการศึก และในการประชุมร่วมกันครั้งที่ผ่านมาทางการไทยก็ได้ตั้งคำถามว่าหากยกเลิกกฏอัยศึกแล้ว เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นในประเทศใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
สำหรับการปาฐกถาของนายแดเนียล รัสเซล ที่พูดถึงเรื่องการเมืองของประเทศไทยนั้น นายดอน กล่าวว่า การพูดเรื่องดังกล่าวอาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาได้ รวมถึงยังเป็นที่น่าผิดหวังรวมทั้งจะเป็นการสร้างบาดแผลให้คนในประเทศได้ โดยเฉพาะนักศึกษาที่ได้รังฟังการปาฐถาในครั้งนี้
นอกจากนั้น ยังชี้แจงถึงการถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายรัฐมนตรี ว่า ไม่ใช่เรื่องของการเมืองแต่เป็นกระบวนการตามกฏหมายที่ดำเนินการมาก่อนที่จะเกิดการรัฐประการ ซึ่งหากสหรัฐมองว่าเรื่องดังกล่าวมีความเกี่ยวข้อง กับการเมืองนั้นก็คาดว่าสหรัฐอาจจะไม่มีความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว และชี้แจงว่าการถอดถอนดังกล่างเกิดจากนโยบายที่ผิดพลาดดังนั้นจึงเกิดกระบวนการถอดถอนเกิดขึ้น
ส่วนการที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปร่วมประชุมสหประชาชาติ (UN) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น นายดอน กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติประเทศที่เป็นสมาชิกจะต้องเข้าไปร่วมประชุมในครั้งนี้ ส่วนรายละเอียดของการร่วมประชุมขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เนื่องจากเป็นเรื่องของผู้นำประเทศ
เหตุการณ์เชิญอุปทูตสหรัฐฯ เข้าชี้แจงนั้น เกิดขึ้นภายหลังปรากฏข่าวเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นทางการเมืองไทย ของนายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างเดินทางมาเยือนประเทศไทย มีการให้สัมภาษณ์ในลักษณะกดดันประเทศไทยให้ยกเลิกกฎอัยการศึก และหลังการเข้าพบอดีตนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เพิ่งถูกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ถอดถอน ด้วยคะแนนเสียง 190-18 เสียง ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ โดนตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปีด้วย