ทันสถานการณ์โลกเวลา 06.30น.วันอังคารที่ 7 เมษายน 2563

07 เมษายน 2563, 06:18น.


อาการทรุดลง“บอริส จอห์นสัน” นายกฯอังกฤษ เข้าไอซียู



          อาการติดเชื้อโควิด-19 ของนายบอริส จอห์นสัน นายกฯอังกฤษ วัย 55 ปี หลังจากเมื่อคืนวันอาทิตย์ (5 เม.ย.) ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเซนต์โทมัส (St Thomas’ Hospital) ย่านใจกลางกรุงลอนดอน ตามคำแนะนำของแพทย์ หลังจากที่พบว่าติดเชื้อและได้กักตัวทำงานที่บ้านพักถนนดาวนิ่ง เป็นเวลา 10 วัน แต่อาการไม่ดีขึ้น แพทย์แนะนำให้ไปตรวจเช็คอาการเพิ่มเติมที่โรงพยาบาล เนื่องจากไอ และมีไข้ขึ้นสูง



          เมโทร สื่ออังกฤษ รายงานว่า เมื่อนายจอห์นสัน เดินทางไปถึงโรงพยาบาล แพทย์นำตัวเข้าไอซียู แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เปิดเผยกับบีบีซีว่าผู้นำอังกฤษ ต้องรับการตรวจเอกซเรย์ทรวงอกและและปอด หากว่าเขามีปัญหาในการหายใจ ก่อนหน้านี้  ผู้ช่วยของนายจอห์นสัน เปิดเผยกับเดอะซันว่า นายกฯอังกฤษ มีอาการไอ ระหว่างการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ สั่งงานจากที่บ้าน ระหว่างนี้ นายโดมินิค ราบ รัฐมนตรีการต่างประเทศ ทำหน้าที่แทนนายจอห์นสัน  



          เดอะซัน รายงานว่า นายจอห์นสัน ได้ทวีตข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ ระบุว่า มีกำลังใจที่ดี ขอบคุณเจ้าหน้าที่การแพทย์ระบบบริการสุขภาพ  NHS ซึ่งเป็นระบบสาธารณสุขอังกฤษที่ช่วยดูแลเขาเป็นอย่างดี นายจอห์นสัน กล่าวว่า ขอให้ทุกคนปลอดภัย และได้โปรดจำไว้ว่าควรอยู่แต่ในที่พัก เพื่อปกป้องแพทย์และจะได้ปลอดภัย



          ด้าน เซอร์ เคียร์ สตาร์เมอร์ หัวหน้าพรรคเลเบอร์คนใหม่ บอกว่านี่เป็นข่าวที่น่าเศร้า คนทั้งประเทศเป็นกำลังใจให้นายกฯและครอบครัวในช่วงเวลาที่ยากเย็นนี้



          สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในอังกฤษ มีผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 52,274 คน เสียชีวิต 5,383 ราย ศ.นีล เฟอร์กูสัน นักระบาดวิทยาประจำอิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน ประเมินว่า สถานการณ์การแพร่ระบาด “จะถึงจุดวิกฤตที่สุด” ในช่วงเทศกาล อีสเตอร์ หรือภายในวันที่ 12 เม.ย. มีการยืนยันว่าหนึ่งในผู้ป่วยจากโรคโควิด-19 ที่พบล่าสุด คือมารีแอนน์ เฟธฟูล ศิลปินและนักแสดงชาวอังกฤษ วัย 73 ปี ปัจจุบันเธอกำลังพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอน



อิหร่าน ผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ รักษาผู้ป่วยโควิด-19



          นายอาลี อักบาร์ เวลายาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล Masih Daneshvari Hospital ของอิหร่าน เปิดเผยว่า อิหร่านได้เริ่มผลิตยาต้านไวรัส ฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) เป็นครั้งแรกในประเทศ เพื่อนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 สถานีโทรทัศน์เพรสทีวีของอิหร่าน รายงานว่า คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ Shahid Beheshti Medical University ได้ผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ ขึ้นเป็นครั้งแรกและนำมาใช้รักษาผู้ป่วย กระทรวงสาธารณสุขอิหร่าน รายงานว่า ผู้ป่วยติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 60,500 คน เสียชีวิต 3,739 ราย



          ประธานาธิบดีฮัสซัน โรฮานี แห่งประเทศอิหร่าน ประชุมร่วมกับกองกำลังตอบสนองเฉพาะกิจแห่งชาติว่าจะเริ่มเปิดให้ธุรกิจที่มีความเสี่ยงน้อยเปิดให้บริการได้อีกครั้งในวันที่ 11 เม.ย.นี้ จะเริ่มจากธุรกิจในจังหวัดต่างๆ นอกจากกรุงเตหะรานก่อน เช่น โรงพิมพ์  ร้านเสื้อผ้า และร้านหนังสือ ส่วนธุรกิจความเสี่ยงต่ำในเมืองหลวงจะเริ่มเปิดได้ตั้งแต่ 18 เม.ย. ทุกร้านจะต้องทำตามข้อบังคับของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด



แอปเปิ้ล ผลิต "เฟซชิลด์" แจกบุคลากรทางการแพทย์



           นายทิม คุก ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัทแอปเปิ้ล เผยแพร่คลิปผ่านบัญชีทวิตเตอร์ส่วนตัวว่าแอปเปิ้ลสนับสนุนภารกิจของบุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลกในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 บริษัทสามารถจัดหาหน้ากากอนามัยแบบN95 ได้มากกว่า 20 ล้านชิ้นแล้ว สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ถึง 2 เท่า และกำลังเตรียมจัดส่งให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในหลายประเทศ



           นอกจากนี้ ทีมงานของแอปเปิ้ลทั้งฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ วิศวกรรม และฝ่ายจัดซื้อ กำลังร่วมกันออกแบบ ผลิตและจัดส่งเฟซชิลด์ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ๆ ใช้เวลาไม่นานในการเชื่อมต่อชิ้นส่วนได้เองภายใน 2 นาที แอปเปิ้ลมีแผนส่งออกเฟซชิลด์ 1,000,000 ชิ้น ภายในสัปดาห์นี้ หลังจากนั้นตั้งเป้าผลิตให้ได้เดือนละ 1,000,000 ล้านชิ้น โดยบรรจุ 100 ชิ้นต่อ 1 กล่อง เบื้องต้นแอปเปิ้ลจะแจกเฟซชิลด์ที่ออกแบบและผลิตเองให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสหรัฐฯก่อน แล้วขยายความช่วยเหลือให้ครอบคลุมนานาประเทศต่อไป วัสดุและโรงงานผลิตมาจากในสหรัฐฯและจีน



แพทย์อินโดฯ เสียชีวิตแล้ว 24 ราย



          กระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย รายงานว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมากถึง 218 คน และมีผู้ติดเชื้อสะสม 2,491 คน เสียชีวิตแล้ว 209 ราย อินโดนีเซีย มีอัตราของผู้เสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 9.1 ขณะที่อัตราเฉลี่ยการเสียชีวิตของทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 5.2 สมาคมการแพทย์อินโดนีเซีย รายงานว่ามีแพทย์ติดเชื้อมากถึง 95 คน เสียชีวิตแล้ว 24 ราย ซึ่งเป็นความสูญเสียที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า นับตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วท่ามกลางปัญหาขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกัน ซึ่งยังมีแนวโน้มที่จะมีแพทย์เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีก หากยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ กลุ่มสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง รวมถึงแอมเนสตี้ ได้แสดงความกังวลต่อความสูญเสียแพทย์ โดยระบุว่า เป็นสัญญาณเตือนให้ประเทศแก้ไขระบบสุขภาพในสถานการณ์ฉุกเฉิน



ยุโรป เริ่มมีความหวัง ตรงข้ามกับสหรัฯ มืดมน ผู้ป่วยพุ่งขึ้น 



          ภาพรวมสถานการณ์โรคโควิด-19  เวลา 05.55 น. วันที่ 6 เม.ย.ยอดรวมผู้ติดเชื้อทั่วโลกกว่า 200 ประเทศ  1,337,749 ราย เสียชีวิต 74,169 ราย



          ตัวเลขผู้ติดเชื้อแยกเป็นประเทศ อันดับ1. สหรัฐฯ 356,942 คน อันดับ 2. สเปน 135,032 คน  อันดับ 3. อิตาลี 132,547 คน  อันดับ 4. เยอรมนี  101,806 คน อันดับ 5. ฝรั่งเศส 98,957 คน



          ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิต อันดับ 1.อิตาลี 16,523 ราย อันดับ 2. สหรัฐฯ 10,524  ราย และ อันดับ 3. สเปน 13,169 ราย



          ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในยุโรปเริ่มมีหวังหลังจากอิตาลี สเปน ฝรั่งเศส พบผู้เสียชีวิตลดลงต่อเนื่อง หลายประเทศของยุโรปที่เป็นศูนย์กลางการระบาด เริ่มจากอิตาลี รายงานเมื่อวันอาทิตย์ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตลดลงต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ ส่วนสเปนลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 และฝรั่งเศสลดลงต่ำสุดในรอบสัปดาห์



           ผู้อำนวยการสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติของอิตาลี กล่าวว่า กราฟเริ่มลดลงและจำนวนผู้เสียชีวิตเริ่มลดลง ขั้นต่อไปคือ ค่อยๆ ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์เข้มข้นที่บังคับใช้มานานหนึ่งเดือน

          พยาบาลในสเปน เปิดเผยคล้ายกันว่า สถานการณ์นิ่งขึ้น จำนวนผู้ป่วยวิกฤตไม่เพิ่มขึ้นมากเหมือนก่อนหน้านี้ และผู้ป่วยทยอยออกจากโรงพยาบาลแม้มีจำนวนยังไม่มากนักก็ตาม

          ตรงข้ามกับสหรัฐฯ ยังมองไม่เห็นความหวัง ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นและเจ้าหน้าที่เตือนว่า สถานการณ์เลวร้ายใกล้เข้ามา นายเจอโรม อดัมส์ ศัลยแพทย์ใหญ่ของสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์ฟ็อกซ์นิวส์ว่า สัปดาห์นี้จะเป็นสัปดาห์ที่หนักหน่วงและน่าเศร้าที่สุดในชีวิตของคนอเมริกันส่วนใหญ่ และจะเป็นช่วงเวลาเลวร้ายพอๆ กับตอนที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ถูกถล่มหรือวินาศกรรมตึกเวิลด์เทรด 11 กันยายน เฉพาะรัฐนิวยอร์กที่เป็นศูนย์กลางการระบาดในสหรัฐฯ ผลกระทบจากโรคโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจโลกเริ่มรุนแรงมากขึ้น นักวิเคราะห์ เตือนว่า ระดับความยากจนจะพุ่งขึ้น เนื่องจากผู้คนนับล้านคนต้องตกงานแม้ภาครัฐระดมออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลก็ตาม



น้ำใจของหลายประเทศในช่วงมืดมนผจญโควิด-19



          ท่ามกลางสถานการณ์มืดมน ยังมีตัวอย่างน้ำใจของผู้คนทั่วโลกให้ได้ผ่อนคลายกันบ้าง เช่น ร้านอาหารแห่งหนึ่งในบาร์เซโลนาของสเปน บรรดาเชฟช่วยกันทำเบอร์เกอร์ไปมอบให้แพทย์และพยาบาล



          ที่เมืองเนเปิลส์ ทางใต้ของอิตาลี ศิลปินริมทางคนหนึ่งหย่อนตะกร้าอาหารสามัคคีลงมาจากระเบียงห้องพัก พร้อมตะโกนเชิญชวนคนที่สามารถบริจาคได้ ให้หย่อนสิ่งที่ต้องการบริจาคลงในตะกร้า ส่วนคนที่ไม่สามารถช่วยเหลือได้ ให้หยิบของในตะกร้ากลับไป ผลปรากฏว่า ตะกร้าใบนั้นเต็มไปด้วยของบริจาคภายในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง



เอกวาดอร์ ผลิตโลงศพไม่ทัน หันใช้โลงกระดาษลัง



          หน่วยงานบริหารท้องถิ่นเมืองกัวยากิล เมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศเอกวาดอร์ และได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดหนักที่สุด ประกาศว่า ยอดผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ 3,747 คน เสียชีวิต 191 ราย ทำให้เกิดปัญหาโลงศพขาดแคลนภายในท้องถิ่น ทำให้ประชาชนต้องหันไปใช้กล่องกระดาษใส่ศพแทน ทำให้ทางการได้รับบริจาคโลงศพกระดาษจากผู้ผลิตในท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นโลงศพ สำหรับผู้เสียชีวิตแล้วจำนวน 1,000 โลง



          ขณะที่เจ้าของธุรกิจด้านโลงศพ ระบุว่า เวลานี้ไม่สามารถผลิตโลงศพให้พอกับความต้องการได้เนื่องจากขาดวัสดุอย่างไม้และเหล็ก ผลจากการประกาศเคอร์ฟิวระยะเวลา 15 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้พบศพผู้เสียชีวิตถูกทิ้งไว้บน



 

ข่าวทั้งหมด

X