ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา 'พายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณประเทศไทยตอนบน' ฉบับที่ 3

06 กุมภาพันธ์ 2564, 10:53น.


          ในช่วงวันที่ 7- 9 กุมภาพันธ์ 2564 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะเริ่มมีผลกระทบบริเวณภาคเหนือในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีผลกระทบในวันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2564 ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย หลังจากนั้นอุณภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส

          ทั้งนี้เนื่องจากจะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564

          ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ตาก ลำพูน ลำปาง พะเยา และน่าน

ในช่วงวันที่ 8 - 9 กุมภาพันธ์ 2564

          ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเชร และเพชรบูรณ์

          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

          ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

          ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

          จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

X