สารคัดหลั่ง 6 ชนิด ที่มีเชื้อ COVID – 19 ทายซิอันไหนมากที่สุด?

11 มกราคม 2564, 15:48น.


            เมื่อการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID – 19 มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หลายคนมีความกังวลถึงความเสี่ยงรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านการปนเปื้นในสารคัดหลั่งต่างๆ รวมถึงการจับหรือแตะสิ่งของ จนกลายเป็นความสงสัยขึ้นมาว่าเชื้อ COVID – 19 ที่ปนเปื้อนในสารคัดหลั่งแต่ละชนิดมีมากแค่ไหน แล้วจะมีระยะเวลาอยู่บนพื้นผิวกี่ชม. ด้วยความห่วงใยจาก อ.พญ.ปัทมา ต.วรพานิช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จึงจะเป็นผู้อธิบาย เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

            ปริมาณเชื้อ COVID – 19 ที่มากับสารคัดหลั่ง


            เชื้อ COVID – 19 ที่พบว่าปนเปื้อนในสารคัดหลั่งได้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ น้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ เยื่อบุคอหอย เลือด และน้ำตา โดยแต่ละชนิดมีความสามารถในการปนเปื้อนแตกต่างกัน ได้แก่



            - น้ำมูกประมาณ 90%



            - น้ำลายประมาณ 80%



            - อุจจาระประมาณ 70%



            - เยื่อบุคอหอยประมาณ 60%



            - เลือดประมาณ 10%



            - น้ำตาประมาณ 1%

            ทั้งนี้ ยังไม่มีรายงานผลตรวจที่พบเชื้อ COVID – 19 ปะปนในเหงื่อ สารคัดหลั่งจากช่องคลอด และน้ำอสุจิมาก่อน

            
ระยะเวลาของเชื้อ COVID – 19 ที่อยู่บนพื้นผิวต่างๆ

            หลายๆ คนอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับระยะเวลาของเชื้อ COVID – 19 ที่อยู่บนพื้นผิวต่าง ๆ ไม่ว่าจะทองแดง ไม้ แก้ว ผ้า กระดาษ พลาสติก แน่นอนว่าแต่ละพื้นผิวมีระยะเวลาของเชื้อต่างกัน คือ

            - ทองแดง สามารถมีเชื้อโควิด – 19 อยู่ได้เฉลี่ย 4 ชม.

            - ไม้ สามารถมีเชื้อโควิด – 19 อยู่ได้เฉลี่ย 6 – 24 ชม.

            - แก้ว ผ้า สามารถมีเชื้อโควิด – 19 อยู่ได้เฉลี่ย 24 – 72 ชม. (1 – 3 วัน)

            - กระดาษ พลาสติก สามารถมีเชื้อโควิด – 19 อยู่ได้เฉลี่ย 48 - 96 ชม. (2 – 4 วัน)

           สำหรับเชื้อ COVID – 19 นี้นั้นสามารถอยู่ด้านนอกของหน้ากาอนามัยได้นานมากกว่า 1 สัปดาห์ ดังนั้น ไม่ควรใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ
และหมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อย ๆ ตามหลักอนามัย เพื่อป้องกันการสัมผัสเชื้อที่อาจปนเปื้อนอยู่



ข้อมูล : 
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 







 



 

X