ยากับนมและเครื่องดื่ม ที่ห้ามใช้คู่กัน เพื่อไม่ให้ประสิทธิภาพของตัวยาลดลงหรือเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยที่ใช้ได้

12 มิถุนายน 2563, 10:01น.


           การบริโภคยาเพื่อรักษาโรคควรใช้อย่างระมัดระวัง และถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ เนื่องจากมีข้อควรปฎิบัติมากมายเพื่อไม่ให้ประสิทธิภาพของตัวยาลดลงหรือเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยที่ใช้ได้ ทั้งนี้การรับประทานยากับน้ำเปล่าสะอาด เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดตามคำแพทย์แนะนำ โดยมีข้อห้ามใช้ยาคู่กับเครื่องดื่มดังนี้

          -ยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตราไซคลีนและกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (เช่นนอร์ฟล็อกซาซิน) คู่กับ นม
ไม่ควร เพราะจะทำให้การดูดซึมยาลดลง ผลการรักษาอาจไม่ได้ประสิทธิภาพเต็มที่

          -ยาขยายหลอดลม คู่กับ ชา/กาแฟ ไม่ควร เพราะจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นเร็วขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจควรระวัง

          -ยาแก้แพ้ชนิดง่วงน้อย คู่กับ น้ำส้ม ไม่ควร เพราะทำให้การดูดซึมยาลดลง ผลการรักษาอาจไม่ได้ประสิทธิภาพเต็มที่

          -ยาลดไขมัน (เช่น ซิมวาสแตติน) คู่กับ น้ำเกรปฟรุต ไม่ควร เพราะทำให้เพิ่มระดับยาในเลือด อาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ

          -ยาพาราเซตามอล คู่กับ แอลกอฮอล์ ไม่ควร เพราะจะส่งผลเสียต่อตับ อาจทำให้ตับอักเสบได้หากดื่มเป็นประจำ

          -ยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วง (เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ) คู่กับ แอลกอฮอล์ ไม่ควร เพราะทำให้ง่วงซึม เดินเซและกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นเหตุให้ล้ม เกิดอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บ





ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

X