!-- AdAsia Headcode -->

ดีแทคเปิดบริการแพลทฟอร์ม “ห้องเรียนเด็กล้ำ” หลักสูตรที่ไม่มีในห้องเรียน แต่มีในโลกชีวิตจริง

02 มิถุนายน 2563, 18:27น.


      2 มิถุนายน 2563 – ดีแทคเดินหน้าสร้างวัคซีนเพิ่มภูมิคุ้มกันภัยร้ายในโลกออนไลน์ให้กับเยาวชน ส่งหลักสูตรออนไลน์  “ห้องเรียนเด็กล้ำ” แพลตฟอร์มอีเลิร์นนิ่ง ที่นอกจากจะรวบรวมบทเรียนที่เน้นสร้างความเข้าใจและหาวิธีรับมือกับภัยร้ายในโลกออนไลน์แล้ว ยังมีบทเรียนที่ช่วยสร้างทักษะการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ และการสร้าง data visualization เพื่อเป็นพื้นฐานสู่การเป็นแกนนำพลเมืองอินเทอร์เน็ตที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Netizen) และช่วยเปิดโลกทัศน์ให้เห็นโอกาสจากการใช้เทคโนโลยีอีกด้วย “ห้องเรียนเด็กล้ำ” เปิดให้เข้าใช้งานแล้ววันนี้ เพียงลงทะเบียนเข้าเรียนผ่าน learn.safeinternet.camp  สานต่อพันธกิจภายใต้โครงการ Safe Internet ก้าวเข้าสู่ปีที่ 5 พร้อมชูหัวข้อความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งที่สังคมต้องให้ความสำคัญ หลังพบเยาวชนในกลุ่ม LGBTQ ตกเป็นเหยื่อจากการกลั่นแกล้งล้อเลียนกว่า 80%

      นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ห้องเรียนเด็กล้ำ ถูกออกแบบมาเพื่อให้ความรู้และทักษะที่ไม่มีในระบบการศึกษาตามหลักสูตรสามัญ หากแต่มีความสำคัญกับการใช้ชิวิตของเด็กและเยาวชน ที่ใช้ชีวิตอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ตมากกว่า 9 ชั่วโมงต่อวันโดยเฉลี่ย ดีแทคกำหนดเป้าหมายว่า เมื่อเยาวชนได้ผ่านการเรียนใน ‘ห้องเรียนเด็กล้ำ’ แล้ว จะต้องมีทักษะและความสามารถในการวิเคราะห์ เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง และบุคคลรอบข้างที่กำลังตกประสบกับภัยร้ายบนโลกไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นการถูกด่าทอ ประจาน หรือกลั่นแกล้ง การถูกล่วงละเมิดทางเพศ การรับข่าวสารที่น่าเคลืบแคลงสงสัย หรือเนื้อหาที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม รวมไปถึง การถูกละเมิดความเป็นส่วนตัว เยาวชนจะต้องรู้วิธีรับมือ และสามารถช่วยเหลือเพื่อนและสมาชิกครอบครัวเมื่อประสบกับภัยออนไลน์ดังกล่าวได้อย่างมีสติ ยิ่งไปกว่านั้น ดีแทคคาดหวังว่า ‘ห้องเรียนเด็กล้ำ’ จะช่วยให้เยาวชนสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองให้กลายเป็นผู้นำต้นแบบของเพื่อนๆและเยาวชนคนอื่นในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีความรับผิดชอบและชาญฉลาด เพื่อสร้างโอกาสในชีวิตอนาคต”



      หลักสูตรใน ‘ห้องเรียนเด็กล้ำ’ แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง คือ หลักสูตรการสร้างทักษะในการแยกแยะภัยในโลกออนไลน์ผ่านระบบการคิดเชิงวิพากษ์ และวิธีรับมืออย่างเป็นระบบ รวมทั้ง แนวทางปฏิบัติตนที่เหมาะสมในโลกออนไลน์ เพื่อสร้างให้เยาวชนมีความพร้อมที่จะเป็นพลเมืออินเทอร์เน็ตที่มีความรับผิดชอบ

- Online Privacy & Sexual abuse เรียนรู้เรื่องลักษณะของข้อมูลส่วนบุคคล ความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล เรียนรู้เรื่องการละเมิดและแสวงหาประโยชน์ทางเพศ

- Diversity Respect to Stop Cyber Bullying เริ่มต้นจากการทำแบบสอบถาม เพื่อให้เข้าใจถึงความหลากหลายในสังคม จนเกิดทัศนคติที่ดีต่อความแตกต่าง เกิดความเคารพ และยั้งคิดก่อนที่จะกลั่นแกล้งผู้อื่นให้เกิดความอับอายหรือเสียหาย หลักสูตรนี้เป็นผลมาจากการวิจัยและศึกษาของดีแทคเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งล้อเลียนในโลกไซเบอร์ในกลุ่มเด็กนักเรียนในระดับมัธยมต้น – ปลายที่พบว่า กลุ่มที่ตกเป็นเหยื่อในการกลั่นแกล้งรังแกมากที่สุดคือ นักเรียนที่เป็น LGBTQ เรื่องที่ล้อเลียนส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวความแตกต่าง โดยเฉพาะความแตกต่างทางเพศ โดยงานวิจัยดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า เยาวชนที่เป็น LGBTQ กว่า 80% เคยถูกล้อเลียน โดยเฉลี่ยจะถูกกระทำสัปดาห์ละครั้งและสถานที่เกิดเหตุส่วนใหญ่ก็คือ ห้องเรียนของเด็กเอง

- Anatomy of Fake News เรียนรู้ความหมายและองค์ประกอบต่างๆ ของข่าวปลอม วิธีและเครื่องมือที่สามารถใช้ในการแยกแยะ และระบุข่าวปลอม

      และหลักสูตรในส่วนที่สอง คือ หลักสูตรที่สอนให้เยาวชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่กำลังทวีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนโลก อาทิ แชทบอท ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) การแสดงผลข้อมูลด้วยภาพ (Data Visualization)  เทคนิคการเล่าเรื่อง (Story Telling)  และการสร้างบอร์ดเกม  ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เด็กเยาวชนยุคใหม่ควรเรียนรู้  เพิ่มทักษะสู่การเป็นพลเมืองยุคดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 นี้ต่อไป



      นอกจาก แพลตฟอร์ม ‘ห้องเรียนเด็กล้ำ’ แล้ว ดีแทคมีแผนที่จะนำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรครูและอาจารย์ที่ทำหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก่นักเรียนที่มีความเสี่ยงหรือกำลังประสบกับภัยออนไลน์ ทั้งนี้ ผลการวิจัยและศึกษาของดีแทค พบว่า เยาวชนที่ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์เลือกที่จะขอคำปรึกษาหรือขอความช่วยเหลือจากเพื่อนในวัยเดียวกัน เป็นทางเลือกอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็น พี่ น้อง ส่วนคุณครูกับผู้ปกครองเป็นกลุ่มสุดท้าย เมื่อถามในเชิงลึกจริงๆ ว่า เพราะเหตุใดจึงเลือกให้คุณครูอยู่ในกลุ่มสุดท้าย นักเรียนกลุ่มตัวอย่างตอบว่า เขาไม่ได้รังเกียจหรือไม่ชอบคุณครู กลับกันเขาอยากให้คุณครูเป็นที่พึ่งที่แรกด้วยซ้ำ เพียงแต่ในความคิดของนักเรียน คือครูอาจไม่สามารถช่วยเหลือได้ หรือคิดไปว่าคุณครูไม่ช่วยเหลือเขาเพราะนักเรียนคนนั้นไม่ใช่ลูกศิษย์ที่รัก และอีกประเด็นคือคุณครู ‘ไม่เข้าใจ’ สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ และโซเชียลเน็ตเวิร์กที่พวกเด็กๆ ใช้งานกัน

เกี่ยวกับโครงการ dtac Safe Internet

      ดีแทคตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะบริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตและบริการดิจิทัล โดยมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามพันธกิจเพื่อเสริมสร้างทักษะและศักยภาพของเด็กและเยาวชนที่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงในการใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ ด้วยโครงการที่มุ่งพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองอินเทอร์เน็ตที่มีความรับผิดชอบ และมีความพร้อมในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างโอกาสสำหรับชีวิตในอนาคต นอกเหนือจากการเปิดแพลทฟอร์มอี-เลิร์นนิ่ง ‘ห้องเรียนเด็กล้ำ’ แล้ว ดีแทคยังจัดกิจกรรมในรูปแบบค่ายแกนนำเยาวชนปีละ 2 ครั้ง เพื่อเปิดโลกให้กับเยาวชนในการสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้และแนะนำบ่มเพาะการดำเนินโครงการที่นำเสนอให้เกิดขึ้นจริง มีโค้ชชิ่งที่ช่วยเรื่องการออกแบบจากทีมงานระดับนานาชาติอย่าง FabCafe Bangkok ที่มีประสบการณ์การ Scale-up และเครือข่ายกว่า 12 ประเทศทั่วโลก และให้ทุนสนับสนุนโครงการ สำหรับดำเนินกิจกรรมจริงในโรงเรียนหรือชุมชนรวมมูลค่ากว่า 400,000 บาท และโอกาสในการแสดงผลงานในมหกรรมแสดงผลงานระดับนานาชาติ นอกจากนี้ ดีแทคยังพร้อมที่จะทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ในการจัดอบรมบุคลากรครูอาจารย์ และนักเรียนทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาสังคมในโรงเรียนที่มีภูมิคุ้มกันบนโลกออนไลน์



dtac launches online learning camp to build children’s digital resilience

      June 2, 2020 - dtac is boosting children’s immunity to online threats through a new e-learning platform titled "Class for Super Kids,” which offers tutorials on technologies such as artificial intelligence or data visualization, in addition to building up their understanding of online threats.

      The Class for Super Kids – which launched today - is focused on creating responsible netizens while ensuring they can safely benefit from new technologies.

      After registering at learn.safeinternet.camp, children can access eight classes which last roughly one hour each. They can study at their own pace.

      The project is part of dtac’s Safe Internet mission, now in its fifth year. For 2020, the Safe Internet project is focusing on respecting sexual diversity, in response to a rise in online bullying of lesbian, gay, bisexual, transgender, and queer (LGBTQ) youth, 80 percent of whom have reported that they have been victims of bullying.

      On-Uma Vattanasuk Rerkpattanapipat, dtac’s Head of Communication & Sustainability, said, “The Class for Super Kids project is designed to give knowledge and skills that aren’t currently taught in school. These skills are essential for children and teens, given that they spend nine hours or more on the online world on average.”

      With these courses, children will be able to deal with cyber threats ranging from bullies, shaming, slander, sexual violation, unaccredited news, breach of privacy, or inappropriate online content. In addition to protecting themselves, it is dtac’s ambition that the graduates will go on to support their friends and family, and act as role models in their community.

      The Class for Super Kids is divided into two objectives: 1.) Spotting online threats through critical thinking, as well as behaving properly in the online world. 2.) Advance digital skills such as chatbots, artificial intelligence and data visualization.



Courses include:

- Online Privacy & Sexual abuse - teaches about individual personal profiles and their importance, as well as about sexual violation and exploitation

- Respect of Diversity to Stop Cyber Bullying - Starting with questionnaires, this objective educates entrants on social diversities to build up their right attitudes toward differences of people, while generating their natural respect and self-restraint - to prevent them from bulling or shaming others. These teachings are based on dtac's researches and studies about cyberbullies among students at the lower secondary level, which find that LGBTQ students are most subjected to bullies and abuses about their differences, especially on their sexual diversities. The researches learn also that more than 80 percent of them are abused averagely once a week, and in their own classrooms.

- Anatomy of Fake News - teaches about meaning and components of fake news, method and tools used in sorting out and identifying fake news

      dtac is also supporting teachers to help them protect their students. Based on dtac’s research, vulnerable students said teachers and parents would ideally be their first choice for support, but they children also see them as incapable of understanding what is happening in the online world. Hence, dtac is raising adults’ digital skills to make them better guardians for the children under their care.

About dtac Safe Internet

      dtac believes connectivity should empower all of society, including children and youths. To ensure a positive online experience, the dtac Safe Internet project equips Thai youth with awareness of online risks as well as digital skills via the Class for Super Kids e-learning platform.

      dtac also conducts biannual youth leadership activities, building awareness of online risk and mentoring projects in association with FabCafe Bangkok, a network of maker labs across 12 countries. dtac has also been funding projects that could be developed into activities at schools and communities in a subsidy scheme of more than Bt400,000, as well as opportunities for exhibitions and national roadshows. Finally, dtac works jointly with educational institutes across the country, holding seminars to further strengthen their immunity to online threats.

X