!-- AdAsia Headcode -->

เผยทีมวิจัยวัคซีนโควิด-19 ของไทย จากศูนย์วิจัยพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

27 พฤษภาคม 2563, 14:17น.


            เป็นโอกาสดีของประเทศไทยที่ได้พัฒนาวัคซีนโควิด-19 โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา จนได้วัคซีนต้นแบบแล้ว 6 ตัว  พัฒนาด้วยเทคโนโลยี mRNA และกำลังอยู่ในขั้นตอนของการทดสอบในสัตว์ เพื่อหาวัคซีนที่ดีที่สุด ซึ่งผลการทดลองเบื้องต้นของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียที่ทดลองกับหนูได้ผลออกมาดี ส่วนการทดลองกับหนูของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้ผลออกมาดีเช่นเดียวกัน และในขณะนี้อยู่ในช่วงทดลองกับลิง คาดว่าการทดลองในลิงจะเสร็จสิ้นในช่วงเดือนมิถุนายน 2563 จากนั้นถึงจะเริ่มทดลองในอาสาสมัครต่อไป

            
และนี่คือความสำเร็จในก้าวแรก โดยกำลังสำคัญในครั้งนี้นำทีมโดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการโครงการวิจัยวัคซีนโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่ปรึกษาของการพัฒนาวัคซีน รวมถึงทีมนักวิจัยที่เป็นกำลังสำคัญในครั้งนี้ร่วมกับทีมแพทย์วิจัยอีก 8 คน ประกอบด้วย

            1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติธร  เกตุลอย

            เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยา, ไวรัสวิทยา และอณูชีววิทยา ผลงานวิจัย ได้แก่ พัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสต่างๆ เช่น ไวรัสไข้เลือดออก, โควิด-19, งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ 10 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนและภูมิคุ้มกัน

           2. ดร.เอกชัย พรหมเพชร

           เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีน, ภูมิคุ้มกันวิทยา, ไวรัสวิทยา และอณูชีววิทยา ผลงานวิจัย ได้แก่ พัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสต่างๆ เช่น ไวรัสไข้เลือดออก, โควิด-19, งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ 10 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนและภูมิคุ้มกัน

            3. ดร.สุปราณี บูรณประดิษฐ์กุล

            เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยาด้านเซลล์, โรคเอดส์, Cell culture และ Flow cytometry ผลงานวิจัย ได้แก่ การตรวจหาภูมิคุ้มกันด้านเซลล์ในโรคติดเชื้อไวรัสต่างๆ อย่าง โรคเอดส์ โรคไข้เลือดออก, การตรวจหาภูมิคุ้มกันด้านเซลล์ในอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีน อย่าง ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เด็กที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีหลังการเปลี่ยนตับ, การตรวจหาภูมิคุ้มกันด้านเซลล์ในผู้ป่วยแพ้ยา และงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ มากกว่า 20 เรื่อง



            4. ดร.สุณี ศิริวิชยกุล

            เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันวิทยา, อณูชีววิทยา, โรคติดเชื้อ, วัคซีน ผลงานวิจัย ได้แก่ การพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อ  เช่น ไวรัสโรคเอดส์, การศึกษาเชื้อดื้อยาต้านเอดส์ และงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติมากกว่า 100 เรื่อง



            5. น.ส.ปภัสรา แก้วแพง อายุ 24 ปี

            ผลงานวิจัย การพัฒนาวัคซีน COVID-19, การพัฒนาการนำส่งวัคซีนไข้เลือดออกรูปแบบดีเอ็นเอ และศึกษาผลกระทบของยาพาราเซตามอลต่อไต

           
 6. นาย กิตติพันธ์ ธาระเขตร์ อายุ 27 ปี

            ผลงานวิจัย ได้แก่ การพัฒนาวัคซีน COVID-19, การพัฒนาวัคซีนไข้ซิกา, การพัฒนาการนำส่งวัคซีนไข้เลือดออกรูปแบบดีเอ็นเอ และการพัฒนาการนำส่งวัคซีนไข้เลือดออก โดยเทคโนโลยี Microneedles Coexpression network approach to explain the response of LPS stimulated macrophage RAW264.7

            7. น.ส. ภัทราวดี พิทักษ์พลรัตน์


            ประสบการณ์การทำงาน

            1. งานพัฒนาวัคซีนโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โควิด-19

            2. ตรวจวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรมเพื่อยืนยันการระบาดโรคร้ายแรง (เชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่, โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง-Mers, โรคแอนแทรกซ์ และไข้หวัดนก)

            3. ตรวจวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรมเพื่อหาเชื้อดื้อยาต้านไวรัสในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี

            ทักษะทางการวิจัย 

            - Molecular biology: conventional PCR, realtime PCR, electrophoresis, Cloning, RE mapping, Sequencing, DNA/RNA transfection, Electroporation

            - Protein expression and purification: Protein expression in prokaryotic and eukaryotic Systems

            - Cell biology: mammalian cell culture, yeast culture and E. coli culture            8.น.ส.สุวรรณา เมฆปราสันต์

            ประสบการณ์การทำงาน

            1. งานพัฒนาวัคซีนโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โควิด-19

            2. ตรวจวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรมเพื่อยืนยันการระบาดโรคร้ายแรง (เชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่, โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง-Mers, โรคแอนแทรกซ์ และไข้หวัดนก)

            3. ตรวจวิเคราะห์ลำดับสารพันธุกรรมเพื่อหาเชื้อดื้อยาต้านไวรัสในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี

            4. การวิจัยด้านโปรติโอมิกส์เพื่อการแพทย์

            5. งานวิจัยชุดตรวจโรค Leptospirosis (โรคฉี่หนู)

            ทักษะทางการวิจัย 

            - Molecular biology: conventional PCR, Electrophoresis, Cloning, Sequencing, Electroporation

            - Protein expression: Protein expression in prokaryotic and eukaryotic Systems

            - Cell biology: yeast culture and E. coli culture



          9.   
ดร. แพทย์หญิง กนิษฐา ภัทรกุล 

       ประสบการณ์การทำงาน

           
- รองศาสตราจารย์ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      - หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      - กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

     - ประธานคณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะแพทยศาสตร์ 

     - งานวิจัยและพัฒนาวัคซีนสำหรับโรคฉี่หนู



           10.  ดร.วรัญญู พูลเจริญ 

           ตำแหน่งปัจจุบัน

    - รองศาสตราจารย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

      รางวัล

       1. The Nagai Award Thailand 2018 in Pharmaceutical Sciences from The Nagai Foundation Tokyo

       2. Leaders in Innovation Fellowship 2018-2019 from The Royal Academy of Engineering, UK

      3. รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2562

  เป็นผู้เชี่ยวชาญ และมีผลงานวิจัยทางด้านการผลิตวัคซีนจากพืช เทคโนโลยีชีวภาพทางพืช โดยมุ่งเน้นโรคที่เป็นปัญหาในประเทศไทย เช่น โรคมะเร็ง โรคมือเท้าปาก โรคพิษสุนัขบ้า โรค COVID-19 เป็นต้น




           11. ดร.ธนาภัทร ปาลกะ     

    ปัจจุบันดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเชี่ยวชาญทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยา และจุลชีววิทยา



 



 

X